Page 59 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 59

57
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘




                  ๔.  ข้อมูลประกอบการพิจารณา


                        ๔.๑  ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
                  พ.ศ. .... แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๔ ส่วน ประกอบด้วย  บททั่วไป : หลักการและเหตุผล นิยามศัพท์  หมวด ๑

                  การปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย หมวด ๒ การป้องกันการทรมานและการบังคับบุคคล
                  ให้สูญหาย  หมวด ๓ คณะกรรมการ  และหมวด ๔ การดำาเนินคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย ดังนี้

                             ๔.๑.๑  การนิยามศัพท์ (มาตรา ๓) ได้กำาหนดคำานิยามคำาว่า “การทรมาน” “การบังคับบุคคล
                                                                              ่
                  ให้สูญหาย”  “การกระทำาหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี (Cruel, Inhuman and
                  Degrading Treatment – CID) คดีทรมาน และคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย
                             ๔.๑.๒  หมวด ๑  การปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย (มาตรา ๕ – ๑๖)

                  ได้กำาหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำาผิดฐานกระทำาทรมาน/บังคับบุคคลให้สูญหาย  การเพิ่มโทษกรณีผู้ถูกกระทำา
                  เป็นเด็ก ผู้หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และคนพิการ บทลงโทษแก่ผู้บังคับบัญชา บทลดหย่อนโทษแก่ผู้กระทำาผิด
                  แล้วช่วยให้สามารถค้นพบผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหาย หรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนดำาเนินคดี การนับ

                  อายุความ ข้อห้ามไม่ให้อ้างสถานการณ์ฉุกเฉิน สงคราม ความไม่มั่นคงเพื่อกระทำาทรมาน/บังคับให้บุคคลสูญหาย
                  บทลงโทษแก่ผู้กระทำาผิดแล้วออกนอกราชอาณาจักร (เขตอำานาจศาล)

                             ๔.๑.๓  หมวด ๒  การป้องกันการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย (มาตรา ๑๗ – ๒๔)
                  บัญญัติข้อห้ามไม่ให้กักขังหรือคุมขังบุคคลในสถานที่ลับ  การให้ผู้ถูกจำากัดเสรีภาพสามารถติดต่อและได้รับ

                  การเยี่ยมจากญาติ ทนายความ ผู้ที่ผู้นั้นไว้วางใจ เจ้าหน้าที่กงสุล (กรณีเป็นชาวต่างชาติ) การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ
                  ผู้ถูกจำากัดเสรีภาพ  การขอให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกจำากัดเสรีภาพ/เงื่อนไขการไม่เปิดเผยข้อมูลฯ  สิทธิ

                  การยื่นคำาร้องของผู้ถูกกระทำาทรมาน  อำานาจและหน้าที่ของศาลอาญา  ข้อห้ามไม่ให้ส่งบุคคลออกนอก
                  ราชอาณาจักรหากเชื่อว่าบุคคลนั้นอาจถูกกระทำาทรมานหรือถูกบังคับให้สูญหาย

                             ๔.๑.๔  หมวด ๓ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย
                  (มาตรา ๒๕ – ๓๕) บัญญัติองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ จำานวน ๑๖ คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงาน
                  ของรัฐ ๙ คน อีก ๗ คน ได้แก่ นายกสภาทนายความ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน (๔ คน) ด้านแพทย์ และ

                  ด้านจิตวิทยา คณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
                  การทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย และของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการเป็นสำานักงานธุรการ
                  ของคณะกรรมการดังกล่าว

                             ๔.๑.๕  หมวด ๔  การดำาเนินคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย (มาตรา ๓๖ – ๔๓) บัญญัติ

                  เกี่ยวกับการแจ้งความ การคุ้มครองผู้แจ้งความ การติดตามสืบหาช่วยเหลือผู้เสียหาย ระงับการกระทำาความผิด
                  การดำาเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและเยียวยาผู้เสียหาย การมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                  ทำาหน้าที่สืบสวน เป็นพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี การฟ้องร้องผู้ต้องหาต่อศาลอาญา

                  การให้ค่าตอบแทนแก่พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้
                  ดำาเนินคดีที่ปรึกษาคดี
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64