Page 67 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 67

65
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                             ๔.๓.๒  การส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายรองรับสนธิสัญญาระหว่าง

                  ประเทศ มี ๒ ฉบับ คือ

                                    ๑)  พระร�ชบัญญัติส่งผู้ร้�ยข้�มแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวิธีการ คือ

                                        ๑.๑)  ความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนคือ ความผิดซึ่งกฎหมายของประเทศผู้ร้อง
                  และกฎหมายไทยกำาหนดให้เป็นความผิดอาญา มีโทษประหารชีวิต หรือโทษจำาคุก หรือโทษจำากัดเสรีภาพ

                  รูปแบบอื่นตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป  โดยมีคำาร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศผู้ร้องขอ กรณีเป็นประเทศที่มี
                  สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศไทยให้ส่งคำาร้องฯ ไปยังผู้ประสานงานกลาง (อัยการสูงสุดหรือผู้ซึ่งอัยการ
                  สูงสุดมอบหมาย)  กรณีเป็นประเทศที่ไม่มีสนธิสัญญาให้ส่งผ่านวิถีทางการทูต คำาร้องฯ ที่จะส่งศาล  ศาลจะรับฟัง

                  โดยไม่จำาเป็นต้องมีพยานบุคคลมาเบิกความประกอบก็ได้  ๑๓
                                        ๑.๒)  กระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน แบ่งออกเป็น ๒ กระบวนการ คือ

                                             ๑.๒.๑)  กระบวนดำาเนินการตามคำาร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน มีดังนี้

                                                    (๑)  การดำาเนินการตามคำาร้องขอให้ส่งบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้ร้าย
                  ข้ามแดนอาจทำาได้กรณี  (๑.๑) เมื่อมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศผู้ร้องขอ

                  กำาหนดไว้  (๑.๒)  บุคคลนั้นยินยอมให้ส่งข้ามแดน หรือ  (๑.๓)  เป็นการส่งผู้ร้ายข้ามแดนภายใต้เงื่อนไข
                  ต่างตอบแทนที่ประเทศไทยทำากับประเทศผู้ร้องขอ  ๑๔

                                                    (๒)  คำาร้องขอฯ ที่ยื่นผ่านวิถีทางการทูตให้กระทรวงการต่างประเทศ
                  ดำาเนินการ  (๒.๑) หากเห็นว่าคำาร้องฯ ไม่กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือไม่มีเหตุผลอื่น
                  ที่จะไม่ดำาเนินการให้ ให้ส่งคำาร้องขอให้ผู้ประสานงานกลาง  (๒.๒) หากเห็นว่าอาจกระทบกระเทือนความสัมพันธ์

                  ระหว่างประเทศ หรือมีเหตุผลที่ไม่อาจดำาเนินการได้ ให้กระทรวงการต่างประเทศเสนอความเห็นและคำาร้องขอฯ
                  ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา  หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามคำาร้องขอฯ ให้กระทรวงการ
                                                  ๑๕
                  ต่างประเทศส่งเรื่องให้ผู้ประสานงานกลาง
                                                    (๓)  เมื่อได้รับคำาร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากกระทรวง

                  การต่างประเทศหรือประเทศผู้ร้องขอให้ผู้ประสานงานกลางพิจารณาดำาเนินการ ดังนี้ (๓.๑)  กรณีเห็นว่า
                  คำาร้องขอฯ อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะดำาเนินการให้ได้ ให้ผู้ประสานงานกลางแจ้งให้พนักงานอัยการยื่นคำาร้องต่อศาล
                  ขอให้ออกหมายจับและจัดส่งหมายจับให้ผู้บัญชาการตำารวจแห่งชาติหรือเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องดำาเนินการ

                  (๓.๒) กรณีคำาร้องขอนั้นมิได้ดำาเนินการตามขั้นตอนหรือมีเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้อง หรืออาจดำาเนินการได้
                  ภายใต้เงื่อนไขให้ผู้ประสานงานกลางแจ้งเหตุขัดข้องให้ประเทศผู้ร้องขอทราบ  ถ้าการดำาเนินการตามคำาร้องขอ

                  จะกระทบกระเทือนการฟ้องคดีหรือการดำาเนินการเกี่ยวกับคดีอาญา  ผู้ประสานงานกลางจะเลื่อนการดำาเนินการ
                  ตามคำาร้องขอ หรือจะดำาเนินการโดยกำาหนดเงื่อนไขก็ได้ และให้แจ้งประเทศผู้ร้องขอทราบ  ๑๖





                  ๑๓  พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๘
                  ๑๔  พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๒
                  ๑๕  พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๓
                  ๑๖  พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๔
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72