Page 61 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 61

59
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                                        ๑.๕)  อนุสัญญา CPED ข้อ ๖ ได้กำาหนดความผิดทางอาญาสำาหรับผู้บังคับบัญชา :

                  ที่ทราบหรือเจตนาละเลยข้อมูลซึ่งระบุว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาได้หรือจะกระทำาให้บุคคลสูญหายโดยถูกบังคับที่มี
                  อำานาจเหนือกิจกรรมซึ่งเกี่ยวกับความผิดฐานทำาให้บุคคลสูญหายโดยถูกบังคับ ที่ไม่ได้ดำาเนินมาตรการที่จำาเป็น

                  และเหมาะสมเพื่อป้องกันหรือระงับการทำาให้บุคคลสูญหายโดยถูกบังคับ  แต่ร่างพระราชบัญญัติฯ ไม่มีนิยาม
                  คำาว่า ผู้บังคับบัญชา ไว้  เนื่องจากบัญญัติยาก แต่ได้กำาหนดบทลงโทษสำาหรับผู้บังคับบัญชาที่ทราบหรือจงใจ
                  เพิกเฉย และไม่ดำาเนินการป้องกันหรือระงับ หรือไม่สอบสวนและดำาเนินคดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำาผิดฐาน

                  ทรมานและทำาให้บุคคลสูญหายโดยถูกบังคับไว้ในร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๙
                                        ๑.๖)  ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๑ กำาหนดเป็นหลักการว่า ไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ

                  ที่จำากัดเสรีภาพบุคคลใดหรือศาลเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกจำากัดเสรีภาพ  หากการเปิดเผยอาจก่อให้เกิด
                  อันตรายต่อบุคคลหรือความเป็นส่วนตัว หรือเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนคดีอาญา เว้นแต่การไม่เปิดเผยเป็น
                  เหตุให้เกิดการทรมาน การบังคับบุคคลให้สูญหาย หรือมีการคุมขังในสถานที่ลับ  และมาตรา ๒๔ กำาหนดว่า

                  ห้ามมิให้ส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักร หากเชื่อได้ว่าจะทำาให้ผู้นั้นถูกกระทำาทรมานหรือถูกบังคับให้
                  สูญหาย แต่ไม่มีข้อกำาหนดให้แก้ไขกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ อาจตั้งเป็นข้อสังเกตให้

                  แก้ไขกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายภายใต้ความรับผิดชอบของสำานักงานตรวจคนเข้าเมืองก็ได้  ส่วนการช่วยเหลือ
                  และเยียวยา  ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓๒ (๘) กำาหนดให้เป็นอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการตาม
                  ร่างพระราชบัญญัติฯ แต่ยังไม่ได้กำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำาเนินการว่าควรอยู่ภายใต้สำานักงานช่วยเหลือ

                  ทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำาเลยในคดีอาญา กระทรวงยุติธรรม หรือเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน
                  ในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ หรือตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลย

                  ในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔
                                        ๑.๗)  ร่างพระราชบัญญัติฯ หมวด ๒ บัญญัติให้มีมาตรการป้องกันการทรมานและ

                  การบังคับบุคคลให้สูญหายสำาหรับเป็นแนวทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวกับปฏิบัติตามอยู่แล้ว  ส่วนการเพิ่ม
                  เติมเนื้อหาในร่างพระราชบัญญัติฯ ให้เชื่อมโยงกับระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่ซึ่งทำาให้บุคคลเสื่อมเสียซึ่งอิสรภาพ
                  และกลไกการป้องกันในระดับชาติ (National Preventive Mechanism - NPM) ตามพิธีสารเลือกรับของ

                  อนุสัญญา CAT เห็นว่าไม่อาจทำาได้  และเห็นว่าหลักเกณฑ์และกระบวนการดำาเนินงานของระบบการเข้าเยี่ยม
                  และของกลไกการป้องกันในระดับชาติดังกล่าวอาจกำาหนดเป็นกฎกระทรวงได้ โดยไม่ต้องมีกฎหมายรองรับ

                                        ๑.๘)  ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๔๑ ได้บัญญัติให้เชื่อมโยงกับประมวลกฎหมาย
                  วิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ.อาญา) โดยระบุว่า การสืบสวนการสอบสวนและการดำาเนินคดีทรมานและคดีบังคับ

                  บุคคลให้สูญหายให้ใช้บทบัญญัติของ ป.วิ.อาญา และให้เจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำาเนินคดีฯ  มีอำานาจของ
                  พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำารวจตาม ป.วิ.อาญา  สำาหรับข้อกังวลว่า คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ
                  มาตรา ๒๕ ส่วนใหญ่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งอาจกระทบต่อการใช้อำานาจของคณะกรรมการตาม

                  ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓๘ วรรคสาม ว่าด้วยการมอบหมายพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวน
                  ผู้รับผิดชอบคดีนั้น  แม้มาตราดังกล่าวได้กำาหนดหลักการว่า “ให้คำานึงถึงหลักประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงมิให้

                  เกิดความขัดกันของตำาแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหากับผู้เป็นพนักงานสอบสวน”  ก็อาจเพิ่มเติมข้อความว่า
                  ผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดีฯ ต้องไม่อยู่ในหน่วยงานของรัฐ
                  สังกัดเดียวกับผู้ถูกสอบสวน
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66