Page 65 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 65
63
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
“ความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรง” ตามมาตรา ๓ (๑) ยังไม่ชัดเจน การกระทำาหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
่
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี ตามมาตรา ๓ (๒) ซึ่งมีนิยามแต่ไม่มีบทกำาหนดโทษ ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๙
ซึ่งกำาหนดให้ต้องรับผิดแต่ไม่มีนิยามคำานี้ไว้ สถานที่ลับตามมาตรา ๑๗ ไม่ชัดเจนว่ารวมถึงค่ายทหารหรือไม่
การกำาหนดให้ดำาเนินการสืบสวนจนกว่าจะพบบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหายตามมาตรา ๑๖ อาจมีปัญหาการตีความ
เกี่ยวกับระยะเวลาซึ่งมีผลต่อการสืบสวนสอบสวน บทลงโทษสำาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ดำาเนินการให้ ผู้ถูกจำากัด
เสรีภาพติดต่อญาติและทนายความอันเป็นสิทธิที่รับรองไว้ในมาตรา ๑๘ ยังไม่ชัดเจน การเยียวยาเบื้องต้นด้าน
การเงินตามมาตรา ๒๓ (๕) ไม่ได้ระบุแหล่งที่มาของเงิน
๒.๒) ประเด็นที่อาจทบทวนหรือเพิ่มเติม เช่น บทกำาหนดโทษสำาหรับความผิด
คดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหายตามมาตรา ๕ วรรคสอง และ ๖ วรรคสอง ซึ่งกำาหนดโทษจำาคุก ๓๐ ปี
สูงกว่าโทษจำาคุกตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งกำาหนดไว้ ๒๐ ปี จึงอาจลักลั่นกัน ควรเพิ่มปลัดกระทรวง
สาธารณสุขในคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ ควรให้มีผู้แทนภาคประชาสังคมในคณะกรรมการสรรหา
ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๒๖ การรับเรื่องร้องเรียนตามมาตรา ๓๓ ซึ่งไม่ต้องระบุชื่อ ผู้ร้องอาจเป็นช่องทางให้
ร้องเรียนโดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งผู้อื่น
๔.๓ กฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติฯ
โดยที่ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๔ บัญญัติห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
กระทำาการส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักร หากเป็นที่เชื่อว่าบุคคลดังกล่าวจะถูกกระทำาทรมานหรือถูกบังคับ
ให้สูญหาย ประกอบกับอนุสัญญา CAT ข้อ ๘ กำาหนดว่า ความผิดในการกระทำาทรมานให้ถือว่ารวมอยู่ในความผิด
ทั้งปวงที่ส่งตัวบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนได้ในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน และอนุสัญญา CPED ข้อ ๑๓ กำาหนดว่า
ความผิดในการกระทำาให้บุคคลหายสาบสูญโดยถูกบังคับไม่ถือเป็นความผิดทางการเมือง ต้องรวมในความผิด
ที่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน การส่งผู้ร้ายข้ามแดนต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตาม
กฎหมาย และไม่ตีความว่าให้ต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน หากรัฐที่ได้รับการร้องขอมีมูลเหตุเชื่อได้ว่าคำาขอนั้นกระทำา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำาเนินคดีหรือลงโทษบุคคลเพราะเหตุผลเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ชาติพันธุ์ ความคิดเห็น
ทางการเมือง การเป็นสมาชิกกลุ่มสังคมบางกลุ่ม หรือการปฏิบัติตามคำาขอจะก่ออันตรายแก่บุคคลดังกล่าว
เพราะเหตุข้างต้น จึงควรพิจารณากฎหมายภายในที่เกี่ยวกับการส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักร ดังนี้
๔.๓.๑ การส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักรกรณีทั่วไป
ประกอบด้วยกฎหมาย ๒ ฉบับ คือ
๑) พระร�ชบัญญัติก�รเนรเทศ พ.ศ. ๒๔๙๙ กำาหนดเงื่อนไขการเนรเทศคนต่างด้าว ดังนี้
๑.๑) เมื่อมีความจำาเป็นเพื่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำานาจออกคำาสั่งเนรเทศคนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรมีกำาหนด
เวลาตามที่เห็นสมควร เมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง รัฐมนตรีฯ จะเพิกถอนคำาสั่งเนรเทศก็ได้ ๖
๖ พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง