Page 62 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 62
60 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๑.๙) ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๕ ควรทบทวนองค์ประกอบคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย (คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ)
โดยเพิ่มผู้แทนจากผู้เสียหายคดีทรมานและคดีการบังคับบุคคลให้สูญหายอย่างละ ๑ คน ซึ่งเคยเสนอไว้ใน
ร่างเดิม และถูกตัดออกในที่ประชุมคณะทำางานแก้ไขกฎหมายภายในให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ กรมคุ้มครอง
สิทธิและเสรีภาพ
๒) ผู้ช่วยศ�สตร�จ�รย์ ปกป้อง ศรีสนิท ให้ความเห็น ดังนี้
๒.๑) อนุสัญญา CAT ข้อ ๒ ข้อย่อย ๒ และอนุสัญญา CPED ข้อ ๑ วรรคสอง
บัญญัติให้การคุ้มครองบุคคลจากการถูกกระทำาทรมานและการบังคับให้สูญหาย เป็นสิทธิมนุษยชนที่ไม่อาจถูก
เพิกถอน โดยไม่อาจอ้างพฤติการณ์พิเศษ ภาวะสงคราม การขาดเสถียรภาพทางการเมือง หรือสภาวะฉุกเฉิน
สาธารณะเพื่อกระทำาดังกล่าว หลักการนี้ได้รับรองไว้ในร่างพระราชบัญญัติฯ ข้อ ๑๑ ซึ่งหากมีผลบังคับใช้
รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งทหารก็มีข้อผูกพันให้ปฏิบัติตาม โดยนัยนี้ การกระทำาผิดที่คู่กรณีเป็นทหาร
อาจอยู่ในอำานาจของศาลทหาร หากคู่กรณีเป็นทหารฝ่ายหนึ่งและพลเรือนฝ่ายหนึ่งก็ควรเป็นอำานาจของศาล
พลเรือน เช่น ศาลยุติธรรม เป็นต้น
๒.๒) ควรยืนยันอำานาจของคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓๗
และ ๓๘ ซึ่งสามารถขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ความช่วยเหลือสนับสนุน/สอบสวน โดย
คำานึงถึงหลักประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดกันของตำาแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหากับผู้ให้ความ
ช่วยเหลือสนับสนุน/พนักงานสอบสวน แล้วแต่กรณี นอกจากนี้ หากคณะกรรมการดังกล่าวมอบหมายให้
พนักงานอัยการเป็นพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบคดี ตามระเบียบสำานักงานอัยการสูงสุด
ว่าด้วยการดำาเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๒๑๕ บัญญัติว่า คดีอาญาใดที่พนักงานอัยการ
มีคำาสั่งฟ้องหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือราษฎรในด้านนั้นแล้ว ห้ามมิให้พนักงานอัยการไม่ว่าเป็น
คนเดียวกับผู้สั่งฟ้องหรือไม่ก็ตาม รับแก้ต่างคดีอาญาให้กับหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือราษฎรนั้น
จึงไม่อาจมีกรณีที่พนักงานอัยการแก้ต่างคดีให้กับทั้งหน่วยงานของรัฐ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ และราษฎรในคดีเดียวกัน
๒.๓) ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๕ กำาหนดให้อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ และมาตรา ๓๒ (๘) กำาหนดให้
คณะกรรมการมีอำานาจหน้าที่ช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหาย (คดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย)
จึงควรให้คณะกรรมการนี้พิจารณากำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือและเยียวยาแก่ผู้เสียหายดังกล่าว
มากกว่าใช้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลย
ในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ เนื่องจากเป็นเรื่องเฉพาะ นอกจากนี้ คณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ ก็มี
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอยู่แล้ว
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทน
ผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ กำาหนดขึ้นบนฐานเป็นค่าตอบแทน
่
เบื้องต้นจึงมีอัตราตำา โดยหลักการจ่ายเงินช่วยเหลือและเยียวยาผู้เสียหาย รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจะ
รับผิดชอบจ่ายเป็นก้อนเดียวแก่ผู้เสียหายไปก่อน จากนั้นจึงไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ก่อความเสียหายนั้น
ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ใช้แนวคิดนี้