Page 58 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 58
56 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
่
ที่ยำายีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหายไว้ด้วยกัน และ
แต่งตั้งคณะทำางานแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคน
จากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้แทนของสำานักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และต่อมา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ยธ ๐๔๐๔/ว ๑๒๘
ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ขอให้หน่วยงานต่างๆ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติป้องกัน
และปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... รวมทั้งให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
เพิ่มเติม (หากมี) ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติฯ อยู่ระหว่างบรรจุเป็นวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
๒. อำานาจหน้าที่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ และพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓) บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ มีอำานาจหน้าที่ “เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับต่อรัฐสภา
และคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน” เมื่อพิจารณาบทบัญญัติแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... แล้ว เห็นว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับการ
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะของผู้เสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกกระทำาทรมาน
และบังคับให้สูญหาย อันเนื่องจากการกระทำา ยุยง หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงเห็นควรศึกษา
และจัดทำาข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายในเรื่องนี้
๓. การดำาเนินการ
ในการจัดทำาข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติ
ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ... คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะ
นโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้มีการศึกษา
และประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ จัดประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นกับนักวิชาการในเรื่องนี้ ตลอดจน
เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฯ ซึ่งจัดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเอกสารวิชาการ กฎหมาย
แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ และพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึง
่
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี
(Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment
– CAT) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
(International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance – CPED)
ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่ร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ใช้เป็นหลักในการจัดทำา