Page 163 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 163

161
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  และตลอดจนประกันการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่เท่าเทียมและมีประสิทธิผลของผู้เสียหายหรือเหยื่อ

                  ดังนั้น มาตรการต่างๆ ของรัฐในการเยียวยา ย่อมไม่จำากัดหรือลดทอนสิทธิหรือพันธกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจาก
                  กฎหมายภายในหรือกฎหมายระหว่างประเทศ



                  ๕.  ความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบาย และ
                        ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                        คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริม

                  และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  พิจารณาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการ
                  บริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุข) เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
                  ช่วยสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  รวมทั้งคุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการ

                  สาธารณสุขทั้งฝ่ายผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  ส่วนมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ
                  แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ นั้น ไม่ครอบคลุมผู้รับบริการในระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการ การรักษาพยาบาล
                  ของข้าราชการ  ดังนั้น จึงมีความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการ

                  สาธารณสุข พ.ศ. .... ดังนี้

                        ๕.๑  ด้านกฎหมาย

                             ๕.๑.๑  ประเด็นที่ ๑ หลักการและเหตุผล

                                    เจตนารมณ์ในการยกร่างพระราชบัญญัติกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการ
                  สาธารณสุข พ.ศ. .... เพื่อระงับความเสียหายเบื้องต้นและให้ผู้ได้รับความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข

                  ได้รับการแก้ไขเยียวยาโดยรวดเร็วและเป็นธรรม โดยช่วยเหลือเงินเบื้องต้น  ดังนั้น ในหลักการและเหตุผล
                  ของร่างพระราชบัญญัติฯ จึงควรใช้คำาว่า ผู้เสียหาย ผู้ได้รับความเสียหาย หรือความเสียหายเป็นหลัก  ไม่ใช่
                  ผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข  และการใช้คำาว่า ผู้เสียหาย ผู้ได้รับความเสียหาย หรือความ
                  เสียหายก็เป็นการใช้ที่สอดรับกับการรับรองสิทธิของบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำาของบุคคลใด

                  บุคคลหนึ่งจากระบบบริการสาธารณสุข และสอดรับกับประมวลกฎหมายอาญา  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
                  ความอาญา  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ๕ ละเมิด หรือแม้แต่กรณีทางปกครอง ซึ่งร่างมาตรา ๒๕

                  ให้นำาหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาประกอบการ
                  พิจารณาด้วย  และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์
                  ในการช่วยเหลือผู้รับบริการสาธารณสุขในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขเช่นเดียวกัน
                  ก็ใช้คำาว่า “ความเสียหาย”  และการใช้คำาว่า ผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข มิใช่สถานะทาง

                  กฎหมายที่เป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งเรียกบุคคลซึ่งได้รับความเสียหาย ว่าเป็น ผู้เสียหาย  จึงย่อม
                  เกิดปัญหาการตีความ ซึ่งถ้าหากจะตีความคำาว่า “ผู้ได้รับผลกระทบ” ก็ย่อมมีข้อสงสัยว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ได้

                  รับผลกระทบด้วยหรือไม่ เช่น บิดามารดา หรือญาติพี่น้องของผู้รับบริการสาธารณสุข เป็นต้น  ดังนั้น ตาม
                  ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงควรใช้คำาว่า “ผู้เสียหาย” หรือ“ผู้ได้รับความเสียหาย” ซึ่งจะเป็นไปตาม
                  หลักกฎหมายทั่วไป  จึงไม่ควรใช้คำาว่า “ผู้ได้รับผลกระทบ”
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168