Page 167 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 167

165
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  ผู้ให้บริการฯ ที่กระทำาละเมิดต่อผู้เสียหายโดยตรง  อันเป็นการรอนสิทธิและตัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อผู้กระทำา

                  ละเมิดอย่างกว้างขวาง  ดังนั้น ร่างมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง ควรตัดบทบัญญัติ “... แต่จะฟ้องผู้ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบ
                  หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลกระทบไม่ได้” ออก

                             ๕.๑.๘  ประเด็นที่ ๘ การเสนอรายงานการจ่ายเงินชดเชยต่อศาล

                                    ร่างมาตรา ๒๗ วรรคสอง  กำาหนดให้สำานักงานทำารายงานการจ่ายเงินชดเชยส่งไปยังศาล

                  ที่พิจารณาคดีที่กองทุนถูกฟ้องคดี

                                    คว�มเห็นและข้อเสนอ
                                    เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาล  ศาลมีอำานาจในการเรียกพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณา

                  คดีอยู่แล้ว ดังนั้น ร่างมาตรา ๒๗ วรรคสอง ไม่จำาเป็นต้องบัญญัติไว้

                             ๕.๑.๙  ประเด็นที่ ๙ เขตอำานาจศาล

                                    ในร่างพระราชบัญญัติฯ ไม่ได้กำาหนดว่าให้ศาลใดมีอำานาจพิจารณาคดี

                                    คว�มเห็นและข้อเสนอ

                                    เมื่อพิจารณากระบวนการต่างๆ ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่กำาหนดให้การขอรับเงิน
                  ชดเชยกรณีที่เกิดความเสียหายจากการบริการสาธารณสุข  ต้องยื่นคำาขอรับเงินชดเชยต่อกรมสนับสนุนบริการ
                  สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานหรือองค์กรที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
                  กำาหนด  ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินชดเชย  ซึ่งประกอบด้วยผู้แทน

                  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  หรือคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินชดเชยประจำาจังหวัด
                  ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสำานักงานสาธารณสุขจังหวัดด้วย  และเมื่อคณะอนุกรรมการดังกล่าวพิจารณาแล้ว

                  หากผู้ยื่นคำาขอไม่พอใจกับจำานวนเงินชดเชยที่คณะอนุกรรมการฯ วินิจฉัย  ต้องโต้แย้งโดยอุทธรณ์ต่อ
                  คณะกรรมการกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข  ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
                  สาธารณสุข เป็นประธาน  และคณะกรรมการฯ อาจมอบหมายหรือมอบอำานาจให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
                  กระทรวงสาธารณสุข  ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐดำาเนินการแทนได้ และเงินของกองทุนก็มีที่มาจากเงินของรัฐ

                  ด้วยแล้ว เห็นว่า กระบวนการต่างๆ ตามร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นกระบวนการทางปกครอง ซึ่งศาลปกครอง
                  มีอำานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำาสั่งในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำาการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม

                  มาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงควรกำาหนดให้
                  ศาลปกครองมีอำานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำาสั่งในคดีพิพาทดังกล่าวด้วย
                                    อย่างไรก็ตาม อาจมีคดีพิพาทระหว่างผู้รับบริการสาธารณสุขและผู้ให้บริการสาธารณสุข

                  โดยตรง  ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนต่อเอกชน  ในกรณีดังกล่าวต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ
                  ศาลยุติธรรม  โดยคู่พิพาทสามารถยกสิทธิขึ้นต่อสู้ได้ตามหลักการที่ปรากฏในมาตรา ๒๘ ของรัฐธรรมนูญ

                  แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                             ๕.๑.๑๐ ประเด็นที่ ๑๐ การออกคำาสั่งของเจ้าหน้าที่

                                    เจ้าหน้าที่มีอำานาจหน้าที่หลายประการ เช่น การพิจารณาคำาขอรับเงินชดเชย การกำาหนด
                  จำานวนเงินชดเชย การวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นต้น ซึ่งมีผลเป็นคำาสั่งทางปกครอง
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172