Page 166 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 166
164 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
มาตรา ๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกอบหลักการที่ปรากฏ
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๐ (๑) รับรองและคุ้มครองสิทธิเข้าถึง
กระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง ดังนั้น เมื่อเกิดความเสียหายจากการบริการ
สาธารณสุขและผู้เสียหายได้รับการเยียวยาแต่เห็นว่าการเยียวยานั้น ล่าช้า ไม่เป็นธรรม หรือไม่เพียงพอกับ
ความเสียหาย ผู้เสียหายก็ควรที่จะสามารถใช้กระบวนการอื่นๆ ต่อไปได้ ซึ่งการทำาสัญญาประนีประนอม
ยอมความเป็นเพียงข้อมูลประกอบการพิจารณาของศาลเมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลเท่านั้น กรณีที่ผู้เสียหายรับเงิน
ชดเชยความเสียหายแล้ว และมีการจัดทำาสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ควรถูกตัดสิทธิการฟ้องคดีต่อศาล
๕.๑.๗ ประเด็นที่ ๗ กรณีการดำาเนินการก่อนฟ้องคดีต่อศาล
๑) ร่างมาตรา ๒๒ กำาหนดให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุขตาม
ร่างพระราชบัญญัตินี้ ต้องดำาเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กำาหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติฯ ก่อน จึงจะ
ฟ้องคดีต่อศาลได้ หากไม่ได้ดำาเนินการและความปรากฏแก่ศาล ให้ศาลสั่งจำาหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คว�มเห็นและข้อเสนอ
สิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้ได้รับความยุติธรรมและเยียวยาความเสียหายเป็นสิทธิ
ขั้นพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชน จึงไม่ควรนำาเงื่อนไขให้ต้องดำาเนินการต่างๆ ตามร่างพระราชบัญญัติฯ
ก่อนแล้วจึงมีสิทธิในการมาฟ้องร้องดำาเนินคดีต่อศาล และหากผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุขเห็นว่า
การดำาเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กำาหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัตินี้ก่อน เป็นการเพิ่มภาระและเสียเวลา
เพิ่มมากขึ้น และประสงค์ที่จะใช้กระบวนการยุติธรรมของศาลเมื่อใดก็เป็นสิทธิที่สามารถดำาเนินการฟ้องเป็นคดี
ในศาลได้ เพราะการฟ้องร้องคดีต่อศาลก็เพื่อให้ศาลได้พิจารณาคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย และควรถือว่าการ
ใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลก็ดี หรือการที่จะใช้สิทธิในการดำาเนินการตามพระราชบัญญัติก็ดี เป็นสิทธิที่ผู้เสียหาย
มีอิสระในการเลือกใช้สิทธินั้น ดังนั้น ร่างมาตรานี้จึงสมควรตัดออก
๒) ร่างมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง กำาหนดให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ยุติการดำาเนินการตามร่างพระราชบัญญัติฯ หากผู้ได้รับผลกระทบหรือทายาทรับเงินไปบางส่วนแล้วหรือไม่ตกลง
ยินยอมรับเงินชดเชยและจะฟ้องคดีต่อศาล
คว�มเห็นและข้อเสนอ
ควรกำาหนดให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ยุติการดำาเนินการตาม
ร่างพระราชบัญญัติฯ หากผู้ได้รับผลกระทบหรือทายาทรับเงินไปบางส่วนแล้วหรือไม่ตกลงยินยอมรับเงินชดเชย
และได้ฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ไม่ควรยุติการดำาเนินการเพียงแค่จะมีการฟ้องคดีต่อศาลเท่านั้น
๓) ร่างมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง กำาหนดว่า หากผู้ได้รับผลกระทบหรือทายาทรับเงินชดเชย
ไปบางส่วนแล้วหรือไม่ตกลงยินยอมรับเงินชดเชยและจะฟ้องคดีต่อศาล ผู้ได้รับผลกระทบหรือทายาทอาจฟ้อง
กองทุนได้โดยตรง แต่จะฟ้องผู้ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลกระทบไม่ได้
คว�มเห็นและข้อเสนอ
การกำาหนดให้ฟ้องกองทุนได้โดยตรง แต่จะฟ้องผู้ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดผลกระทบไม่ได้ เป็นการคุ้มครองผู้ให้บริการสาธารณสุขและตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้อง