Page 165 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 165

163
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                  ประนีประนอมยอมความ


                                    คว�มเห็นและข้อเสนอ
                                    กรณีที่ความเสียหายปรากฏขึ้นภายหลังการทำาสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยผลของ
                  สารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้เสียหายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ  ให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่น

                  คำาร้องขอรับเงินชดเชยตามพระราชบัญญัตินี้ภายในสามปีนับแต่วันที่ได้รู้ถึงความเสียหาย  แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน
                  สิบปีนับแต่วันที่เกิดความเสียหายอันปรากฏขึ้นภายหลัง  ตามหลักเกณฑ์การยื่นคำาขอรับเงินชดเชยของ

                  ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๓
                                    ๒)  ร่างมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง  กำาหนดให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
                  ยุติการดำาเนินการตามร่างพระราชบัญญัติฯ  หากผู้ได้รับผลกระทบหรือทายาทรับเงินชดเชยไปบางส่วนแล้ว

                  หรือไม่ตกลงยินยอมรับเงินชดเชยและจะฟ้องคดีต่อศาล

                                    คว�มเห็นและข้อเสนอ

                                    กรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว และศาลมีคำาพิพากษาหรือคำาสั่งถึงที่สุดยกฟ้องโดยไม่ได้
                  วินิจฉัยว่า ผู้ให้บริการสาธารณสุข ผู้รับบริการสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายไม่ต้อง
                  รับผิด  คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินชดเชยหรือคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินชดเชยประจำาจังหวัด ควรพิจารณา

                  ดำาเนินการตามร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ได้อีก เพราะอาจเป็นกรณีที่ศาลพิพากษาในเรื่องอายุความหรือเงื่อนไข
                  แห่งการฟ้องคดี มิใช่การวินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดี การที่จะเยียวยาเบื้องต้นผู้เสียหายต่อไปโดยการพิจารณาจ่ายเงิน
                  ชดเชย จึงเป็นการดำาเนินการตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย


                             ๕.๑.๖  ประเด็นที่ ๖ การสละสิทธิฟ้องร้องคดีทางแพ่ง
                                    ๑)  ร่างมาตรา ๒๖  กำาหนดให้ผู้ได้รับผลกระทบหรือทายาทเมื่อรับเงินชดเชย

                  ความเสียหายแล้ว  ต้องจัดทำาสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อสละสิทธิเรียกร้องและยุติการดำาเนินคดีทางแพ่ง

                                    คว�มเห็นและข้อเสนอ
                                    การกำาหนดเช่นนี้เท่ากับตัดสิทธิการฟ้องคดีต่อศาล  ขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญ

                  แห่งราชอาณาจักรไทย และขัดต่อสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
                  รัฐมีพันธกรณีที่จะต้องให้การเยียวยาที่พอเพียง มีประสิทธิผล รวดเร็ว และเหมาะสม ในกรณีที่รัฐไม่สามารถ

                  ดำาเนินการให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนที่รัฐมีพันธกรณีได้  และตลอดจนประกันการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
                  ที่เท่าเทียมและมีประสิทธิผลของผู้เสียหายหรือเหยื่อ  ดังนั้น มาตรการต่างๆ ของรัฐในการเยียวยาย่อมไม่จำากัด
                                                                                              ๔๔
                  หรือลดทอนสิทธิหรือพันธกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากกฎหมายภายในหรือกฎหมายระหว่างประเทศ    และกติกา
                  ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  ข้อ ๑๒ ข้อย่อยที่ ๑. ได้รับรองสิทธิของ

                  ทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้ โดยข้อย่อยที่ ๒. (ง) กำาหนดให้รัฐ
                  ต้องสร้างสภาวะที่ประกันบริการทางแพทย์ และการให้การดูแลรักษาพยาบาลแก่ทุกคนในกรณีเจ็บป่วย รวมทั้ง





                  ๔๔  Basic Principles and Guidelines on the Right to a Remedy and Reparation for Victims of  Gross Violations of International
                     Human Rights Law and Serious Violations of International Humanitarian Law
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170