Page 158 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 158
156 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เสนอ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะทำางานศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทาง
การเยียวยาผลกระทบหรือความเสียหายจากการให้หรือการรับบริการสาธารณสุขและได้ดำาเนินการปรับปรุง
แก้ไขเป็นร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งได้จัดทำาประชาพิจารณ์ ๔ ภูมิภาคและภาคส่วนอื่นๆ ได้แก่
ภาคผู้รับบริการเครือข่ายภาคประชาชน ภาคสภาวิชาชีพและผู้ให้บริการส่วนอื่นๆ และขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุป
ร่างดังกล่าวก่อนนำาเรียนปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งคาดว่าจะนำาเสนอต่อคณะรัฐมนตรีประมาณเดือนพฤษภาคม
๑.๒ หลักก�รและส�ระสำ�คัญของร่�งพระร�ชบัญญัติกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจ�ก
ก�รบริก�รส�ธ�รณสุข พ.ศ. ....
๑.๒.๑ การให้บริการสาธารณสุขอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ถ้าไม่ใช่กรณีจงใจหรือ
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็จะให้ความคุ้มครอง ซึ่งจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองทั้งผู้ให้บริการภายใต้ระบบ
บริการสาธารณสุขและผู้รับบริการสาธารณสุขซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ จริยธรรมและตามกฎหมาย
ทั้งสามระบบ คือ ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพ
๑.๒.๒ การจ่ายเงินชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข
๑) ผู้ที่ได้รับผลกระทบตามที่บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติกองทุนคุ้มครอง
ผู้ได้รับผลกระทบฯ ต้องดำาเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้กำาหนดก่อน หากยังไม่ได้
ดำาเนินการและความปรากฏแก่ศาล ให้ศาลสั่งจำาหน่ายคดีออกจากสารบบความ
๒) ผู้ให้บริการและผู้รับบริการสาธารณสุข ที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิได้รับเงิน
ชดเชยโดยไม่มีกระบวนการพิสูจน์ถูกผิด และสามารถยื่นขอรับเงินได้ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
๓) ผู้ได้รับผลกระทบที่รับเงินชดเชยความเสียหายและลงนามในสัญญา
ประนีประนอมยอมความถือว่าสละสิทธิฟ้องคดีทางแพ่ง ซึ่งมีผลให้คดีแพ่งเป็นอันยุติ แต่ไม่ตัดสิทธิในการฟ้อง
คดีอาญา หากผู้ได้รับผลกระทบหรือทายาทไม่รับเงินชดเชยหรือรับเงินชดเชยเพียงบางส่วนสามารถฟ้องกองทุนฯ
เป็นคดีแพ่งต่อศาลได้ ไม่ใช่ฟ้องผู้ให้บริการและ/หรือสถานพยาบาล และให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวง
สาธารณสุข ยุติการดำาเนินการจ่ายเงินชดเชยตามร่างพระราชบัญญัติฯ และผู้ได้รับผลกระทบหรือทายาทไม่มีสิทธิ
ที่จะยื่นคำาขอตามร่างพระราชบัญญัติฯ นี้อีก
๔) กรณีที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขถูกฟ้องเป็นจำาเลยในคดีอาญา ศาลอาจใช้
ดุลพินิจลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำาหนดไว้สำาหรับความผิดนั้น หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ ยกเว้นเป็นการกระทำา
โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยให้ศาลนำาข้อเท็จจริงต่างๆของจำาเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์
แห่งคดี มาตรฐานทางวิชาชีพ การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี เป็นต้น มาพิจารณาประกอบด้วย
๕) คณะกรรมการกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข
พ.ศ. .... ประกอบด้วย คณะกรรมการโดยตำาแหน่ง ผู้แทนจากผู้ให้บริการในสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (ผู้แทน
ผู้ประกอบอาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข ผู้แทนราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทาง ผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพ
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านสุขภาพ)
และกำาหนดให้อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเป็นกรรมการและเลขานุการ เนื่องจาก
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ฯ เป็นองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคและควบคุมกำากับการบริการทางการแพทย์ไม่ใช่องค์กร
ที่ปฏิบัติจึงไม่มีส่วนได้เสีย รวมทั้งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพฯ มีสำานักสถานพยาบาลและประกอบโรคศิลปะ
มีอำานาจทางปกครองในการที่จะออก ระงับ หรือเพิกถอนใบอนุญาตสถานพยาบาลและประกอบโรคศิลปะ