Page 168 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 168
166 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
คว�มเห็นและข้อเสนอ
เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นกฎหมายที่
่
กำาหนดมาตรฐานขั้นตำาในการพิจารณาจัดทำาคำาสั่งทางปกครอง ดังนั้น จึงควรมีบทบัญญัติให้นำาพระราชบัญญัติ
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้
๕.๑.๑๑ ประเด็นที่ ๑๑ ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการสาธารณสุข
ร่างมาตรา ๓๑ กำาหนดให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
วิชาชีพย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา เว้นแต่หากเป็นการ
กระทำาโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
คว�มเห็นและข้อเสนอ
เนื่องจากผู้ให้บริการสาธารณสุขซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรม
ย่อมได้รับความคุ้มครองตามหลักการที่ปรากฏในมาตรา ๘๐ (๒) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ ประกอบมาตรา ๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
และหากผู้ให้บริการสาธารณสุขเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และไม่ได้กระทำาการนั้นไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
อย่างร้ายแรง ก็ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ อยู่แล้ว สำาหรับการที่กำาหนดข้อยกเว้นที่ให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขยังคงต้องรับผิดเฉพาะกรณี
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ย่อมเป็นการไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐
ที่บัญญัติให้ผู้กระทำาประมาทเลินเล่อต้องรับผิดในการกระทำาที่ทำาผิดกฎหมาย และก่อให้เกิดความเสียหายแก่
บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่น กฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติในเรื่องการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ดังนั้น
การที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติข้อยกเว้นให้รับผิดในกรณีประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงไม่ต้องด้วย
หลักเกณฑ์ทั่วไปในเรื่องละเมิด ทั้งกระทบไปถึงหลักการกระทำาโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา เพราะ
หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญานั้นมิได้แบ่งเกณฑ์การประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไว้แต่อย่างใด
๕.๒ ด้านนโยบาย
๕.๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติฯ มีเจตนารมณ์เพื่อให้มีการพัฒนาระบบความปลอดภัย
เพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่จะเกิดจากการบริการสาธารณสุขให้น้อยที่สุด ดังนั้น หากกรมสนับสนุน
บริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จะใช้อำานาจระงับหรือเพิกถอนใบอนุญาตสถานพยาบาลและประกอบ
โรคศิลปะ ในกรณีที่สถานพยาบาลกระทำาการฝ่าฝืนคำาสั่งที่ออกมาอันเกี่ยวเนื่องกับกองทุน ในร่างพระราชบัญญัติ
กองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ ต้องกำาหนดให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข มีอำานาจ
ระงับหรือเพิกถอนใบอนุญาตสถานพยาบาลและประกอบโรคศิลปะตามคำาสั่งที่ออกมาอันเกี่ยวเนื่องกับกองทุน
ให้ชัดเจน
๕.๒.๒ หน่วยงานที่ควรดูแลและรับผิดชอบการดำาเนินการตามร่างพระราชบัญญัติฯ
ควรเป็นสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากขณะนี้ สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ดำาเนินการดูแลผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ อยู่แล้ว จึงมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ รวมทั้งมีบุคลากรพร้อมในการที่จะดำาเนินการ
ตามร่างพระราชบัญญัติฯ และเป็นการประหยัดงบประมาณในการดำาเนินการ