Page 164 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 164

162   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                           ๕.๑.๒  ประเด็นที่ ๒ ชื่อร่างพระราชบัญญัติ

                                 เหตุผลเช่นเดียวกับข้อ ๕.๑.๑ และประกอบกับเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติฯ ที่

               ต้องการคุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุขไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ให้บริการสาธารณสุขหรือผู้รับบริการ
               สาธารณสุข  โดยให้เงินชดเชยแก่ผู้ได้รับความเสียหายและนอกจากนี้ยังมีกระบวนการคุ้มครองผู้ให้บริการ
               สาธารณสุข  โดยกรณีที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขถูกฟ้องเป็นจำาเลยในคดีอาญา  ให้ศาลนำาข้อเท็จจริงต่างๆ ของ
               จำาเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์แห่งคดี มาตรฐานทางวิชาชีพ การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี การที่ได้มีการทำา

               สัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นต้น มาประกอบการพิจารณาด้วย  จึงเห็นได้ว่า สาระสำาคัญของบทบัญญัติ
               ในร่างพระราชบัญญัติฯ ไม่ใช่เป็นเรื่องของกองทุนเพียงอย่างเดียว  ดังนั้น เพื่อให้ชื่อของร่างพระราชบัญญัติฯ

               ครอบคลุมถึงสาระสำาคัญในร่างพระราชบัญญัติฯ  ชื่อของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวควรเปลี่ยนเป็น
               ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุข  พ.ศ. ....

                           ๕.๑.๓  ประเด็นที่ ๓ คำานิยาม

                                 เหตุผลเช่นเดียวกับข้อ ๕.๑.๑  ดังนั้น คำานิยาม คำาว่า “ผลกระทบ” ควรตัดออก  และ
               คำานิยาม คำาว่า “ผู้ได้รับผลกระทบ” ควรเปลี่ยนเป็น “ผู้เสียหาย” หรือ “ผู้ได้รับความเสียหาย” ซึ่งเมื่อมีการ
               แก้ไขแล้ว ต้องพิจารณาเนื้อความหรือถ้อยคำาในร่างมาตราอื่นๆ ให้สอดคล้องด้วย

                           ๕.๑.๔  ประเด็นที่ ๔ องค์ประกอบคณะกรรมการ

                                 ร่างมาตรา ๗  กำาหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการ
               บริการสาธารณสุข ซึ่งคณะกรรมการโดยตำาแหน่งมีความหลากหลาย เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

               ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ
               และเสรีภาพ เลขาธิการสำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเลขาธิการสำานักงานประกันสังคม เป็นต้น
               และในร่างมาตรา ๑๐ กำาหนดให้คณะกรรมการฯ มีอำานาจหน้าที่หลายประการ เช่น กำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ

               อัตราและเงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบกองทุน และพิจารณาอนุมัติให้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นการเฉพาะราย
               กำาหนดระเบียบเกี่ยวกับการยื่นคำาขอรับเงินค่าชดเชย และระเบียบการจ่ายเงินชดเชย วินิจฉัยอุทธรณ์และกำาหนด
               หลักเกณฑ์ และวิธีการอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์

                                 คว�มเห็นและข้อเสนอ

                                 เมื่อพิจารณาจากอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ  และวัตถุประสงค์ของร่างพระราช-
               บัญญัติดังกล่าวที่ต้องการให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองทั้งผู้ให้บริการภายใต้ระบบบริการสาธารณสุขและผู้รับ

               บริการสาธารณสุข  ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ จริยธรรมและตามกฎหมายทั้งสามระบบ คือ ระบบ
               สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพ  องค์ประกอบของ
               คณะกรรมการฯ ควรประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้สอดรับกับวัตถุประสงค์และอำานาจหน้าที่ดังกล่าว จึงเห็นควร

               เพิ่มอธิบดีกรมบัญชีกลาง  ซึ่งดูแลเกี่ยวกับระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการเป็นกรรมการ
               ในคณะกรรมการฯ ด้วย


                           ๕.๑.๕  ประเด็นที่ ๕ เงินชดเชย
                                 ๑)  ในบางกรณีความเสียหายไม่ได้เกิดขึ้นทันทีหลังการบริการสาธารณสุข  แต่เกิดขึ้น
               หลังการบริการสาธารณสุขแล้วระยะหนึ่ง  ดังนั้น อาจมีกรณีที่ความเสียหายปรากฏขึ้นภายหลังการทำาสัญญา
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169