Page 85 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 85

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                National Human Rights Commission of Thailand

                และผูครอบครองที่ไมไดทํากินมากกวาครึ่ง ทําใหเกษตรกรผูเคยไดรับการจัดสรรที่ดินจากรัฐตองกลับไปถางปาใหม

                รวมทั้งการกวานซื้อที่ดินเปนผืนใหญโดยนายทุนระดับชาติและทุนตางชาติ ประเด็นนี้เกิดขึ้นทั้งพื้นที่เกษตรกรรม

                ในภาคกลาง และพื้นที่ปาในภาคใต เชน ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎรธานี และที่เกาะยาวจังหวัดพังงา
                         ตอมา แมรัฐจะนําที่ดินปาไมที่ถูกบุกเบิกเปนที่ทํากินแลวมากําหนดเปนเขตปาเสื่อมโทรม เพื่อทําโครงการ

                จัดสรรที่ดินในรูปแบบตาง ๆ เชน นิคมสรางตนเอง นิคมสหกรณ หมูบานปาไม  สิทธิทํากิน รวมทั้งการปฏิรูปที่ดิน

                เขตปา แตไมชาไมนานที่ดินที่จัดสรรของโครงการจัดที่ดินเพื่อชวยเหลือคนจนที่ไร ที่ดินตาง ๆ ของรัฐ ถูกเปลี่ยนมือ
                มาเปนของนายทุนและผูครอบครองที่ไมไดไรที่ดินทํากินมากกวาครึ่ง เกษตรกรผูเคยไดรับการจัดสรรที่ดินจากรัฐ

                และสูญเสียที่ดินไปอีกจึงมักกลับไปถางปาใหม นอกจากนั้น ยังมีการอนุญาตใหเอกชนรายใหญเชาที่ดินที่ประกาศ
                เปนเขตปาเสื่อมโทรมเพื่อทําการเกษตรดวย พื้นที่อนุญาตจํานวนมากทับที่ดินทํากินของชาวบานในทองถิ่น

                ทําใหเกิดขอพิพาทขัดแยงระหวางราษฎรในทองถิ่นกับบริษัทเอกชนผูเชาที่ดิน ดังกรณีพื้นที่เชาทําสวนปาลม

                ในเขตปาสงวนจังหวัดกระบี่และสุราษฎรธานี และในชวงหลังวิกฤติเศรษฐกิจในป 2540 ที่ดินที่นายทุนครอบครอง
                และนําเอกสารสิทธิไปเปนทรัพยประกันกูเงินจากธนาคารแลวเปนหนี้เสียกลายเปนสินทรัพยที่ไมกอใหเกิดรายได

                ที่ดินจํานวนมากจึงตกไปอยูในมือของธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งเมื่อรัฐจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพยเขามา
                จัดการหนี้ก็ทําใหนักลงทุนตางชาติกวานซื้อที่ดินไวจํานวนมาก รวมทั้งการกวานซื้อที่ดินผืนเล็กผืนนอยของราษฎร

                ในชนบทหรือชิดชายเขตปาหรือชุมชนทองถิ่นที่ใชที่ดินทํากินสืบตอกันมาแตครั้งบรรพบุรุษแตไมมีเอกสารสิทธิรองรับ

                ตามกฎหมาย ประเด็นนี้เกิดขึ้นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมในภาคกลาง และพื้นที่ปาในภาคเหนือ ภาคใต เชน ที่เกาะสมุย
                จังหวัดสุราษฎรธานี และเกาะยาวจังหวัดพังงา

                         สถานการณที่ดินดังกลาวขางตน มีมิติของการละเมิดสิทธิทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชนตอชุมชน

                และราษฎรทองถิ่นอยูดวยจึงมีเรื่องรองเรียนจํานวนมากมาที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ประเด็น
                รองเรียนวามีกรณีการละเมิดสิทธิในการจัดการและใชประโยชนที่ดินและทรัพยากรปาไมมีจํานวนมากกวา

                การละเมิดสิทธิในที่ดินประเภทอื่น ลักษณะปญหาที่มีการรองเรียนสวนใหญมีพื้นฐานปญหามาจากการใชอํานาจรัฐ

                ประกาศเขตพื้นที่ปาซอนทับพื้นที่ชุมชนอยูอาศัยและทํากิน เชน การประกาศเขตปารักษาพันธุสัตวปา
                เขตอุทยานแหงชาติ เขตปาสงวนแหงชาติ หรือเขตพื้นที่อนุรักษตามมติคณะรัฐมนตรี ดังตัวอยางกรณี

                การประกาศพื้นที่ปาชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 และหามชาวบานเขาไปทํากิน
                ในพื้นที่ดังกลาว การประกาศเขตอุทยานแหงชาติใตรมเย็น และเขตอุทยานแหงชาตินํ้าตกสี่ขีด ในพื้นที่

                จ.สุราษฎรธานี ซอนทับที่ดินทํากินของราษฎร การประกาศเขตรักษาพันธุสัตวปาผาผึ้ง จ.ชัยภูมิ หรือ

                การดําเนินโครงการปลูกปาเฉลิมพระเกียรติซอนทับที่ดินทํากินของราษฎร
                         การประกาศเขตปาซอนทับพื้นที่ชุมชนนําไปสูการใชอํานาจรัฐในการจัดการใชประโยชนที่ดิน

                และทรัพยากรปาไมไวที่รัฐเพียงฝายเดียว การจัดการและใชประโยชนของชุมชนที่เคยมีมาชานานกลายเปน
                การกระทําที่ผิดกฎหมายละเมิดอํานาจรัฐไปในทันที นําไปสูการจับกุมชาวบานและการผลักดันชุมชนออกไปจาก






           64    รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข
                 นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90