Page 31 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 31

สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
                National Human Rights Commission of Thailand

                             7.   สิทธิของชุมชนทองถิ่นดั้งเดิมในกานอนุรักษและฟนฟูจารีตประเพณี ภูมิปญญาทองถิ่น

                และศิลปวัฒนธรรม (มาตรา 66)
                             8.   สิทธิในการบํารุงรักษาและใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติอยางสมดุลและยั่งยืน

                (มาตรา 66)
                             ปญหาเบื้องตนในเรื่องสิทธิชุมชน คือ การรับรองสถานะหรือความมีตัวตนทางกฎหมาย

                ของชุมชน หรือปญหาสภาพบุคคลทั้งในฐานะบุคคลธรรมดาและในฐานะนิติบุคคลของชุมชน เพราะในทางกฎหมาย
                การมีสภาพบุคคลหมายถึงสถานะที่จะมีสิทธิและหนาที่ได ผูที่ไมไดรับการยอมรับใหมีสภาพบุคคลยอมไมมีทาง

                จะมีสิทธิและหนาที่ได
                             กลาวโดยสรุป สิทธิมนุษยชนที่จําเปนจะตองสงเสริมใหเกิดการปกปองคุมครองมิใหเกิด

                การละเมิดสิทธิแกประชาชนที่สําคัญไดแก สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและรางกาย สิทธิเขาถึงกระบวนการยุติธรรม
                สิทธิการรับรูขอมูลขาวสารของทางราชการ และสิทธิชุมชนเขาถึงและใชประโยชนฐานทรัพยากร

                            2.5)  สิทธิชุมชน
                             สิทธิของบุคคลที่รวมกันเปนชุมชน โดยทั่วไป ชุมชน หมายถึงกลุมหรือหนวยทางสังคม

                ที่มีที่เปนอยูแลวตามธรรมชาติของมนุษยที่ตองการความมั่นคงปลอดภัยของตนเองและครอบครัว ชุมชนที่อาศัย
                อยูรวมกันในพื้นที่เดียวกันซึ่งอาจไมใชพื้นที่ในเขตปกครอง แมอาจจะมีระยะเวลาไมนานแตมีความสัมพันธกัน

                มีกฎเกณฑกติกาที่เปนที่ยอมรับและปฏิบัติรวมกัน เรียกวา ชุมชนทองถิ่น แตถาอยูรวมกันในถิ่นเดียวกันมานาน
                จนสามารถสรางและพัฒนากิจกรรมจนเกิดเปนวิถีชีวิตจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติรวมกัน เชน ภาษา

                การแตงกาย ความเชื่อความศรัทธา เรียกวา ชุมชนทองถิ่นดั้งเดิม (เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย, 2551)
                           “สิทธิชุมชน” ไดรับการยอมรับใหเปนขอตกลงระหวางประเทศหลายฉบับ เชน กติกา

                ระหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิทางเศรษฐกิจ
                สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาแรงงานระหวางประเทศฉบับที่ 169 คําประกาศริโอวาดวยสิ่งแวดลอม

                และการพัฒนา (Agenda 21) อนุสัญญาวาดวยความหลากหลายทางชีวภาพ และปฏิญญาสากลของสหประชาชาติ
                วาดวยสิทธิของชนพื้นเมือง ค.ศ. 2007 นอกจากนี้ ยังมีการยอมรับในคําพิพากษาของศาลทั้งที่เปนการพิจารณาคดี

                ระหวางประเทศและคดีภายในประเทศของหลายประเทศ เชน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา หรือประเทศ
                ออสเตรเลีย โดยยอมรับวา สิทธิของชนพื้นเมืองหรือสิทธิชุมชนเปนสิทธิที่เกิดขึ้นและมีอยูกอน เปนสิทธิตามธรรมชาติ

                ดั้งเดิมตามหลักกฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) และรัฐมีหนาที่ตองคุมครองสิทธิของชุมชนดังกลาว และเนื่องจาก
                สิทธิชุมชนถูกพัฒนามาจากกระบวนการตอสูเพื่อเรียกรองสิทธิมนุษยชนของชนพื้นเมือง (Indigenous Peoples)

                ในโลกตะวันตก ซึ่งกระบวนการตอสูเพื่อสิทธิมนุษยชนก็เปนสวนหนึ่งของการฟนฟูความคิดของสํานักกฎหมาย
                ธรรมชาติ เพราะการตอสูเพื่อสิทธิมนุษยชนในดานความคิดจะตองตอสูกับความคิดของสํานักกฎหมายบานเมือง

                (Legal Positivism) ดังนั้น จึงอาจกลาวไดวา สิทธิชุมชนไมใชสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไรที่มาทางทฤษฎี เพราะทฤษฎีกฎหมาย
                อันเปนพื้นฐานแนวคิดของสิทธิชุมชนก็คือ ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ ที่มองวา กฎหมายธรรมชาติคือกฎหมาย

                ที่มีอยูตามธรรมชาติ เกิดขึ้นเอง มนุษยไมไดสรางขึ้น เปนกฎหมายที่อยูเหนือรัฐ และใชไดโดยไมจํากัดเวลา




           10    รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “เพื่อปรับปรุงแกไข
                 นโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนดานที่ดินและปาไม”
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36