Page 49 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 49
อยางไรก็ตาม องคกรคุมครองสิทธิมนุษยชนที่กลาวมาขางตนจะมีอํานาจหนาที่คุมครอง
สิทธิมนุษยชนไดแตเฉพาะกับประเทศที่เขารวมเปนภาคีสมาชิกเทานั้น ไมมีอํานาจหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชน
เปนการทั่วโลกดังเชนองคกรคุมครองสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติตามที่กลาวมาขางตนแตอยางใด
(2) องคกรระดับภายในประเทศ
สําหรับองคกรคุมครองสิทธิมนุษยชนในระดับภายในประเทศในประเทศตาง ๆ
มีการจัดตั้งองคกรขึ้นมาเพื่อทําหนาที่ในการคุมครองสิทธิมนุษยชน ทั้งองคกรที่เปนและไมเปนองคกรศาล
พิจารณาไดดังนี้ คือ
- องคกรที่ไมเปนองคกรศาล
องคกรคุมครองสิทธิมนุษยชนที่ไมเปนองคกรศาลตามที่ปรากฏในประเทศตาง ๆ
เปนสวนใหญ มีสององคกร คือ องคกรสิทธิมนุษยชนแหงชาติและผูตรวจการแผนดิน
ก. องคกรสิทธิมนุษยชนแหงชาติ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งองคกรสิทธิมนุษยชน
แหงชาติเกิดขึ้นตั้งแต ค.ศ. 1946 ในที่ประชุมคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ และไดมีความ
พยายามในการที่จะใหมีการจัดตั้งองคกรฯ ดังกลาวในประเทศตาง ๆ มาเรื่อยจนกระทั่งในชวงป ค.ศ. 1990
เปนตนมา ประเทศตาง ๆ ก็ไดมีการจัดตั้งองคกรฯ ขึ้นในประเทศของตน เชน ประเทศนิวซีแลนด ออสเตรเลีย
สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เม็กซิโก และเดนมารก เปนตน และองคกรฯ ของแตละประเทศดังกลาวตางก็มีสถานะและทางปฏิบัติ
เกี่ยวกับอํานาจหนาที่แตกตางกันไป กลาวคือ บางประเทศองคกรฯ ก็ทําหนาที่เปนเสมือนที่ปรึกษาดานสิทธิมนุษยชน
แกฝายบริหารหรือหนวยงานของรัฐ บางประเทศก็มีสถานะเปนองคกรอิสระ บางประเทศก็มีอํานาจในการตรวจสอบ
สอบสวนคํารองเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนดวย ตอมาในป ค.ศ. 1991 ไดมีการจัดการประชุมระหวางประเทศ
ขึ้น ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยที่ประชุมไดรวมกันกําหนดแนวทางและมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดตั้งและ
ดําเนินงานขององคกรฯ ที่เรียกกันทั่วไปวา “หลักการปารีส (Paris Principle)” และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แหงชาติและสมัชชาทั่วไปแหงสหประชาชาติก็ไดใหการรับรองหลักการดังกลาวในเวลาตอมา
ในหลักการปารีส ไดกลาวถึงแนวทางในการจัดตั้งองคกรฯ วา ควรจัดตั้งองคกรฯ
83
ที่เปนอิสระในดานงบประมาณ การปฏิบัติหนาที่และองคประกอบที่มีความหลากหลาย และกําหนดองคกรฯ
ตองไดรับมอบหมายอํานาจในการสงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชนไวอยางกวางขวางเทาที่จะมีได โดยบัญญัติไว
อยางชัดเจนในรัฐธรรมนูญหรือบทกฎหมายที่ตราขึ้น และตองมีอํานาจหนาที่ที่สําคัญดังตอไปนี้ คือ 84
- เสนอแนะและทํารายงานในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนตอรัฐบาล
รัฐสภา และองคกรที่มีอํานาจใด ๆ
- สงเสริมใหมีการปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐและแนวปฏิบัติตามมาตรฐาน
สิทธิมนุษยชนระดับสากล
83 สุพจน เวชมุข, “การคุมครองสิทธิมนุษยชนโดยการเสนอเรื่องตอศาลรัฐธรรมนูญของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติตามมาตรา 257 (2) ของรัฐธรรมนูญ
แหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550,” (วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2552), น. 50.
84 จรัญ โฆษณานันท, อางแลว เชิงอรรถที่ 7, น. 514 515.
30