Page 20 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 20

บทนํา







                      สิทธิมนุษยชนมีที่มาจากความตองการสองประการของมนุษย คือ ความตองการเปนอิสระและ
               ความเทาเทียมกันระหวางระหวางมนุษยดวยกัน และความตองการจํากัดอํานาจของผูปกครองที่ใชอํานาจกดขี่

               ประชาชน สืบเนื่องจากสังคมมนุษยในสมัยบุพกาลที่เต็มไปดวยความทุกขยาก และความไมเสมอภาคเทาเทียม

               ของมนุษย โดยมนุษยถูกแบงออกเปนชนชั้นสูงกับชนชั้นลาง โดยชนชั้นลางจะถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกปฏิบัติ
               เหมือนกับเปนวัตถุสิ่งของหรือสัตวเลี้ยงของชนชั้นสูง สิทธิตาง ๆ ในสังคมถูกสงวนไวสําหรับคนชั้นสูงเทานั้น

               เนื่องจากชนชั้นลางไมมีความเปนตัวของตัวเอง และยังตองพึ่งพาอาศัยชนชั้นสูงอยูทั้งในดานความมั่นคงปลอดภัย
               ในชีวิตและปจจัยสี่ ตอมา เมื่อสังคมมนุษยมีความเจริญขึ้น มนุษยมีความเปนตัวของตัวเองและมีเหตุผลกวาแตกอน

               มนุษยจึงสามารถชวยเหลือและดําเนินชีวิตไดดวยตนเอง โดยไมตองพึ่งพาอาศัยผูอื่นเหมือนแตกอนหรือพึ่งพา

               อาศัยผูอื่นแตนอยเทาที่จําเปน
                      ตอมา เมื่อมีพัฒนาการทางการเมืองการปกครองของมนุษยชาติมากยิ่งขึ้นก็มีความขัดแยงอันเนื่องมาจาก

               ความไมเทาเทียมของกลุมบุคคลสองกลุม คือ กลุมที่มีความเขมแข็งและมีอํานาจในการกําหนดความเปนไปภายใน
               สังคม เชน กลุมชนชั้นปกครอง กลุมนักการเมืองกลุมพอคาและนักธุรกิจ และกลุมอิทธิพล กับคนอีกกลุมหนึ่งเปน

               กลุมที่มีอํานาจตอรองในทางสังคมนอยกวากลุมแรก และตองปฏิบัติตามการชี้นําของกลุมแรก เชน กลุมชาวนาและ

               เกษตรกรกลุมผูใชแรงงาน โดยคนกลุมแรกมักใชกําลังและอํานาจที่ตนมีกดขี่ขมเหงเอารัดเอาเปรียบคนกลุมหลัง
               อยางไรมนุษยธรรม ทําใหคนกลุมหลังซึ่งอยูในฐานะผูถูกปกครองพยายามหากฎเกณฑตาง ๆ เพื่อมาจํากัดอํานาจ

               ของผูปกครอง มนุษยจึงตกลงเขาทําสัญญาอยูรวมกันเปนสังคมและจัดตั้งรัฐบาลขึ้นเพื่อทําหนาที่ปกครอง

               รักษาความสงบเรียบรอยและอํานวยความยุติธรรมใหเกิดขึ้นในสังคมเรียกวา สัญญาประชาคม (Social Contract)
               โดยประชาชนแตละคนยอมสละสิทธิบางสวนของตน คือ สิทธิที่จะบังคับกันเอง ใหรัฐหรือรัฐบาลซึ่งไดจัดตั้งขึ้น

               ตามสัญญา แตทุกคนยังสงวนสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และทรัพยสินอันเปนสิทธิธรรมชาติของมนุษยไว ซึ่งรัฐหรือ

               บุคคลใดจะทําลาย ลวงละเมิดหรือขัดขวางสิทธิดังกลาวไมได และเมื่อใดที่รัฐหรือรัฐบาลทําผิดเงื่อนไขที่ตกลงไวใน
               สัญญาโดยการละเมิดสิทธิธรรมชาติของประชาชน ถือวารัฐไดกระทําการอันเปนการฝาฝนความไววางใจของ

               ประชาชนตามสัญญาซึ่งเปนเงื่อนไขสําคัญแหงการมีอํานาจของรัฐ ประชาชนผูถูกปกครองยอมมีอิสระในการ
               ถอดถอนหรือลมลางรัฐหรือผูปกครองที่ทําผิดสัญญาได และอิสระในการถอดถอนหรือลมลางผูปกครองดังกลาว

               คือ สิทธิธรรมชาติในการลงโทษผูปกครองของผูถูกปกครอง ซึ่งตอมาเรียกวา “สิทธิมนุษยชน”

                      การเรียกรองสิทธิมนุษยชนและการจัดทําเอกสารในยุคแรก ๆ เนนเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
               ซึ่งสอดคลองกับแนวคิดทางการเมืองและระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบเสรีมีเงื่อนไขสําคัญคือ

               การปลอดการแทรกแซงของรัฐ แตเมื่อเวลาผานไประบบเสรีกลับทําใหเกิดปญหาสังคมตามมา ทั้งนี้ เนื่องจากเปน
               ความจริงที่วาคนเรามีความสามารถและโอกาสไมเทากัน ดังนั้น การปลอยเสรีทําใหมนุษยกลุมหนึ่งไดประโยชน

               ในขณะที่มนุษยอีกกลุมหนึ่งถูกใชเปนเครื่องมือในการหาประโยชนจากกลุมแรก และกลุมหลังซึ่งมีจํานวนมาก

               ตกอยูในสภาวะยากจนที่สุดและอยูอยางไมมีสภาพที่มีคาความเปนมนุษยเหลืออยู และจากสภาวการณที่เกิดขึ้น

                                                                                                               1
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25