Page 11 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 11

โดยตรงในการดําเนินการบังคับใหเปนไปตามรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเสมอ นอกจากนั้น

              เมื่อพิจารณาอํานาจขององคกรที่ทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชนแลว จะทําใหเห็นถึงธรรมชาติของการเปนองคกร
              กึ่งตุลาการ ซึ่งมีอํานาจไกลเกลี่ยชี้ขาดใหเกิดขอยุติปญหาในระดับหนึ่ง แตก็มิใชมีอํานาจตุลาการที่จะตัดสินปญหา

              และบังคับการลงโทษไดเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในตัวเอง หากแตเปนเพียงองคกรใหคําปรึกษา คําแนะนํา หรือขอเสนอแนะ
              แกฝายนิติบัญญัติและฝายบริหารเกี่ยวกับการสงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งอํานาจสวนนี้ขององคกรที่

              ทําหนาที่คุมครองสิทธิมนุษยชน โดยทั่วไปมักจํากัดขอบอํานาจไวในระดับหนึ่งเพื่อมิใหเกิดการซอนทับอํานาจของ
              องคกรที่อาจเกิดขึ้นได โดยเฉพาะอํานาจของฝายตุลาการโดยตรง เหตุที่ตองใหองคกรศาลเปนองคกรที่ทําหนาที่

              ในการใชอํานาจตุลาการในการตรวจสอบก็เนื่องมาจากการตรวจสอบโดยองคกรศาลนั้น เปนระบบที่ไดรับการยอมรับ
              วาเปนระบบที่ใหหลักประกันแกประชาชนไดดีกวาระบบอื่น ๆ ซึ่งคณะผูวิจัยไดศึกษากรณีศึกษาหลายกรณี

              แลวพบวา หากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติมีหนังสือเรียกบุคคล นิติบุคคล หรือหนวยงานเอกชน
              ที่เกี่ยวของมาใหถอยคําหรือใหสงวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวของมาตามวัน เวลา และสถานที่

              ที่กําหนด แตไมไดรับความรวมมือเทาที่ควรนั้น การแกปญหาในระยะสั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ
              ก็อาจใชอํานาจตามมาตรา 34 แหงพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ พ.ศ. 2542 ลงโทษ

              ผูใดไมมาใหถอยคํา หรือไมสงวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานที่ถูกเรียกหรือถูกสั่งใหสงตามมาตรา 32 (2) ตอง
              ระวางโทษจําคุกไมเกินหกเดือน หรือปรับไมเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และมาตรา 35 ผูใดตอสู

              หรือขัดขวางการปฏิบัติหนาที่ตามมาตรา 32 (3) ตองระวางโทษจําคุกไมเกินหนึ่งป หรือปรับไมเกินสองหมื่นบาท
              หรือทั้งจําทั้งปรับ หรือรายงานตอนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการใหมีการดําเนินการตามมาตรการการแกไขปญหาการละเมิด

              สิทธิมนุษยชนโดยผานทางหนวยงานที่มีหนาที่รับผิดชอบตามที่กลาวมาแลว และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
              แหงชาติ ก็ยังมีอํานาจในการรายงานไปยังนายกรัฐมนตรีหรือรัฐสภา แลวแตกรณี เพื่อใหฝายบริหารและนิติบัญญัติ

              รับทราบถึงปญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน และไดวางแนวทางในการแกไขปญหาในระดับนโยบาย
              ตอไป

                         อยางไรก็ตาม ในการแกไขปญหาในระยะยาวนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติจําเปนจะตอง
              เผยแพรความรูเรื่องสิทธิมนุษยชนไปสูประชาชน ตลอดจนองคกรของรัฐที่เกี่ยวของเพื่อใหเห็นประโยชนและ

              ปองกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยางยั่งยืนตอไป
                     2. กรณีศึกษาและการวิเคราะหการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเกี่ยวกับการ

              กระทําอันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน
                         คณะผูศึกษาวิจัยไดกําหนดกรณีศึกษาจากขอรองเรียนที่มีตอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ

              เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน ซึ่งแตละกรณีมีรายละเอียด ดังนี้
                         2.1 กรณีขอโตแยงอํานาจการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติวารัฐธรรมนูญ

              ไมไดใหอํานาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเขามาจัดระเบียบความสัมพันธในทางแพงระหวางเอกชน
              ตอเอกชน

                             กรณีนี้มีผูรองเรียนตอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติวา แพทยของโรงพยาบาลเอกชน
              แหงหนึ่งไดทําคลอดและดูแลบุตรชายของผูรองดวยความประมาทไมระมัดระวังในการตรวจรักษาผูปวยและ

              ใชเกณฑที่ตํ่ากวามาตรฐานเปนเหตุใหบุตรชายของผูรองติดเชื้อที่สะโพกและขาพิการในเวลาตอมา ทําใหผูรองตอง
              เสียคาใชจายจํานวนมากในการรักษาพยาบาลบุตรใหหายจากการเจ็บปวย โดยในการตรวจสอบเรื่องรองเรียนกรณี


           VI
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16