Page 12 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 12

ดังกลาวโรงพยาบาลเอกชนผูถูกรองไดโตแยงอํานาจการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติวา

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติเปนองคกรที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
               2540 อันเปนกฎหมายมหาชน ซึ่งมุงจะจัดระเบียบการปกครองของรัฐในทางการเมือง การกําหนดโครงสราง

               ของรัฐ ระบบการปกครอง การใชอํานาจอธิปไตย และการรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในประเทศ ฉะนั้น
               การกอตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติจึงเปนไปเพื่อประโยชนในการคุมครองศักดิ์ศรีความเปนมนุษย

               สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยที่รัฐธรรมนูญรับรองไวใหพนจากการใชอํานาจขององคกรของรัฐทุกองคกร
               แตรัฐธรรมนูญไมไดใหอํานาจคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ เขามาจัดระเบียบความสัมพันธในทางแพง

               ระหวางเอกชนตอเอกชนแตอยางใด ขอโตแยงดังกลาวฟงไดหรือไม เพียงใด
                      คณะผูศึกษาวิจัยเห็นวา การปฏิบัติหนาที่ขององคกรคุมครองสิทธิมนุษยชน มุงหมายที่การตรวจสอบ

               การกระทําของบุคคลวา เปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไมเปนหลัก กลาวอีกนัยหนึ่ง เงื่อนไขเกี่ยวกับการปฏิบัติหนาที่
               ขององคกรคุมครองสิทธิมนุษยชนอยูที่ “การกระทํา” อันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนเปนสําคัญ มิไดขึ้นอยูกับ

               เงื่อนไขเกี่ยวกับ “ตัวบุคคล” ผูกระทําแตอยางใด โดยนัยดังกลาว การกระทําอันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชน
               จึงอาจเกิดขึ้นไดทั้งในความสัมพันธระหวางองคกรของรัฐกับเอกชน” และใน “ความสัมพันธระหวางเอกชนหรือ

               ปจเจกชนดวยกันเอง” โดยสิทธิมนุษยชนยอมจะตองไดรับการเคารพทั้งจากองคกรของรัฐและเอกชนหรือปจเจกชน
               ทั้งหลายดวย ดังนั้น สิทธิมนุษยชนประการตาง ๆ ดังที่ไดรับการรับรองและคุมครองในปฏิญญาสากลวาดวย

               สิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) และอนุสัญญาแหงยุโรปวาดวยการคุมครอง
               สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (European Convention for the Protection of Human Rights and

               Fundamental Freedoms) จึงตองตีความอยางกวาง และไดรับการรับรองและคุมครองไมเพียงแตในความสัมพันธ
               ระหวางองคกรของรัฐและเอกชนเทานั้น หากแตยังไดรับการรับรองและคุมครองในความสัมพันธระหวางเอกชน

               หรือปจเจกชนดวยกันเองอีกดวย การตีความในแนวทางดังกลาวยังไดรับการยืนยันตามขอ 13 ของอนุสัญญา
               แหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งบัญญัติวา “บุคคลทุกคนซึ่งสิทธิและเสรีภาพ

               ขั้นพื้นฐานของตนไดรับการคุมครองตามอนุสัญญาฉบับนี้ถูกลวงละเมิด มีสิทธิที่จะฟองคดีตอศาลแหงรัฐของตน
               แมวาการลวงละเมิดนั้นจะกระทําขึ้นโดยบุคคลซึ่งปฏิบัติหนาที่ของตนก็ตาม” โดยนัยเชนนี้ จึงตองตีความวา

               การแทรกแซงหรือลวงละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเอกชนคนหนึ่งโดยเอกชนอีกคนหนึ่งยอมจะกระทํา
               มิไดยิ่งกวา ขอพิจารณาตาง ๆ ดังกลาวเปนไปในแนวทางเดียวกับแนวคําวินิจฉัยของศาลแหงยุโรปดานสิทธิมนุษยชน

               ที่ไดเคยวินิจฉัยไวในคดีอื่นดวย โดยศาลไดยํ้าเตือนวาหากขอ 8 ของอนุสัญญาแหงยุโรปมีเจตนารมณสําคัญ
               เพื่อคุมครองเอกชนตอการถูกแทรกแซงตามอําเภอใจขององคกรของรัฐ บทบัญญัติดังกลาวมิไดจํากัดขอบเขต

               อยูแตเพียงการกําหนดหามมิใหรัฐภาคีกระทําการแทรกแซงเชนนั้นอันเปนขอผูกพันที่จะไมกระทําการ
               (un engagement négatif) แตเพียงอยางเดียวเทานั้น รัฐภาคียังมีหนาที่จะตองดําเนินมาตรการที่เหมาะสม

               (des obligations positives) เพื่อใหสิทธิของบุคคลในชีวิตสวนตัวและในชีวิตครอบครัวไดรับการเคารพ
               อยางแทจริงอีกดวย ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงการกําหนดมาตรการที่มุงหมายใหสิทธิดังกลาวของบุคคลไดรับ

               การเคารพ แมในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกันเอง และจากเหตุผลที่มาตรา 22 แหงพระราชบัญญัติ
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ พ.ศ. 2542 บัญญัติอํานาจหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ

               ไววา “ในกรณีที่มีการกระทําหรือละเลยการกระทําอันเปนการละเมิดสิทธิอยูในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือ
               มีคําสั่งเด็ดขาดแลวใหคณะกรรมการมีอํานาจตรวจสอบและเสนอมาตรการแกไขตามพระราชบัญญัตินี้” ซึ่งหมายความวา


                                                                                                               VII
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17