Page 15 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 15

7)  การสืบความลับ การสอดรูสอดเห็น การติดตามเฝาดู และการรบกวน

                             8)  การแทรกแซงการติดตอสื่อสารระหวางกัน
                             9)  การเปดเผยขอมูลขาวสารที่เปนความลับ ซึ่งผูกระทําไดรับมาอันเนื่องมากจากการประกอบ

              วิชาชีพนั้น
                             10) การใชงานในทางที่มิชอบซึ่งการติดตอสื่อสารสวนบุคคล

                             ดังนั้น อาจกลาวไดวาขอบเขตที่บุคคลควรไดรับการคุมครองและการเคารพในสิทธิความเปนสวนตัว
              ก็คือการดํารงชีวิตอยางเปนอิสระ มีสิทธิที่จะแสวงหาความสุขในชีวิตตามวิถีทางที่อาจเปนไปไดและเปนความพอใจ

              ตราบเทาที่ไมขัดตอกฎหมาย ไมขัดตอความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไมเปนการ
              ลวงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผูอื่น ดังนั้น หากมีกรณีที่เอกชนไดกระทําการอันเปนการลวงละเมิดขอบเขตดังกลาว

              ของบุคคลอื่น ก็ถือไดวาเปนการกระทําละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกัน
                             ทั้งนี้ แมวาในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธระหวางเอกชนดวยกันนั้น คณะกรรมการ

              สิทธิมนุษยชนแหงชาติจะมีอํานาจในการตรวจสอบก็ตาม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติยอมมีอํานาจหนาที่
              พิจารณาและตรวจสอบแตเพียงในสวนที่เกี่ยวกับมิติการกระทําอันเปนการแทรกแซงหรือรุกลํ้าสิทธิในความเปนอยู

              สวนตัววาการกระทํานั้นเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไมเทานั้น โดยมิอาจกาวลวงพิจารณาลงไปถึงการกระทํา
              อันเปนความผิดตามกฎหมายเฉพาะนั้น ๆ ซึ่งเปนอํานาจหนาที่หรือความรับผิดชอบโดยตรงเปนการเฉพาะของ

              องคกรของรัฐแหงอื่นอยูแลว
                             นอกจากนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติและสํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

              แหงชาติจําเปนจะตองมีการพัฒนาความรูความเชี่ยวชาญของบุคลากรของสํานักงานฯ เกี่ยวกับเรื่องดังกลาว
              ตลอดจนเผยแพรประชาสัมพันธใหประชาชนทั่วไปทราบ เพื่อเสริมสรางมาตรฐานการปฏิบัติงานใหเปนไป

              ในแนวทางเดียวกัน
                         1.2 การปรับปรุงบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติใหมีบทบาทเห็นเปนรูปธรรม

              ไดชัดเจน
                             โดยการกําหนดอํานาจหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติใหสามารถใหคําแนะนํา

              ขอคิดเห็น แกรัฐมนตรีวาการแตละกระทรวงไดโดยตรง เพื่อกําหนดเปนนโยบาย มาตรการที่เปนการปกปอง
              คุมครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งเปนนโยบายที่เกิดขึ้นจากกรณีการรองเรียนในประเด็นที่มีผลกระทบตอคนโดยสวนใหญ

              โดยคําแนะนําตาง ๆ จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาตินั้น มีผลทําใหหนวยงานของรัฐเห็นความสําคัญ
              ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนไดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น บทบาทในการสามารถใหคําแนะนําหรือใหขอคิดเห็นตาง ๆ แกหนวยงาน

              ทั้งภาครัฐ องคกรรัฐวิสาหกิจ และองคกรภาคธุรกิจไดโดยตรง จึงนาที่จะนํามากําหนดเปนอํานาจหนาที่หนึ่ง
              ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติของประเทศไทย

                             นอกจากนั้น ควรกําหนดใหอํานาจแกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติที่จะสามารถ
              ดําเนินการแกไขเรื่องเรงดวนไดอยางทันทวงที หากเห็นวาเปนเรื่องที่มีความสําคัญและเกิดขึ้นอยางตอเนื่อง แมวาจะยัง

              ไมไดรับการรองเรียนหรือไมก็ตาม โดยจะสามารถสนับสนุนในเรื่องของบริการ ทางการแพทย อาหาร เสื้อผา
              การเปลี่ยนแปลงสถานที่อยู หรือแมแตการจัดการกับคนที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือเหยียดหยามผูอื่นออกจากงาน

              อยางเปนทางการได ซึ่งการดําเนินการดังกลาวถือเปนนโยบายที่ดี เพื่อเขาไปจัดการปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน




           X
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20