Page 73 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 73

46  รายงานการศึกษาวิจัย
              การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



              สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารยจัดขึ้น ก็มีขอกําหนดใหผูที่จะเขาอุปสมบทในโครงการตองตรวจเลือด โดยระบุใหมี
                                           99
                                                                                                  100
              การตรวจเชื้อเอชไอวีอยางชัดเจน  หรือขอกําหนดของวัดบางแหงที่มีการเผยแพรในอินเทอรเน็ต  เปนตน
              ในขณะที่วัดทั่วไป อาจไมไดเครงครัดกับขอกําหนดเรื่องนี้มากนัก
                            กรณีขางตน เปนกรณีที่แสดงใหเห็นการเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นในสถานที่ทํางาน แตในปที่ผานมา

              ปรากฏเหตุการณการเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อในสถานศึกษาอันเปนจุดเริ่มตนสําคัญของการทํางานในอนาคต
              เมื่อนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยเอกชนแหงหนึ่ง ถูกตรวจเลือดระหวางเรียน และเมื่อตรวจพบวาติดเชื้อ

              เอชไอวี มหาวิทยาลัยขอใหเปลี่ยนสาขาที่เรียนหรือพักการเรียน โดยมหาวิทยาลัยคืนคาเทอมให โดยมหาวิทยาลัย
              อางเหตุผลวา “...จะเปนผลดีทั้งกับตัวนักศึกษาเองที่จะไดดูแลตัวเอง ไมตองเขาไปอยูในภาวะเสี่ยงที่อาจจะติด

              เชื้อโรคอื่น ๆ เพิ่ม เนื่องจากในโรงพยาบาลจะมีผูปวยหรือเชื้อโรคตาง ๆ มาก และยังเปนการคุมครองสิทธิผูที่จะมา
                             101
              รับบริการดวย...”   และเปน “...การปกปองสิทธิ์ผูปวยมากกวา....เพราะหากปลอยใหนักศึกษาที่มีโรคที่คนทั่วโลก
              หวาดกลัวออกไปสัมผัสกับผูปวยแลวเกิดปญหาขึ้นภายหลังจะเสียหายอยางไร  เสียหายทั้งสถานพยาบาล
                                                         102
              เสียหายทั้งสถาบัน เสียหายทั้งมหาวิทยาลัย...”   อยางไรก็ดี กรณีนี้มีการรองเรียนไปยังคณะกรรมการ
              สิทธิมนุษยชนแหงชาติดวย และในระหวางนี้อยูในระหวางการฟองรองคดีตอศาลที่ผูติดเชื้อและเครือขายผูติดเชื้อ
              เปนโจทกรวม 103



              3.2 ผลการศึกษาภาคสนาม

                     การเก็บขอมูลภาคสนามในโครงการวิจัยนี้ ใชวิธีการเก็บขอมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งใหความสําคัญกับการ

              ทําความเขาใจและตีความขอมูลอยางลุมลึกในมุมมองแบบคนใน และเก็บขอมูลเชิงลึกจากผูใหขอมูลหลัก
              (Key Informant) ซึ่งเปนผูที่สามารถใหขอมูลไดอยางชัดเจน จึงทําใหสามารถไดผลการศึกษาที่หนักแนน

              และเชื่อถือได ซึ่งแตกตางจากการศึกษาเชิงปริมาณที่เนนการสรางขอสรุปทั่วไป (generalization) จึงตองให
              ความสําคัญกับจํานวนตัวอยางที่สามารถเปนตัวแทนประชากรได การเก็บขอมูลเชิงปริมาณจึงไมสามารถ

              แสดงใหเห็นปญหาเฉพาะบางประการ โดยเฉพาะการเลือกปฏิบัติไดชัดเจน
                     การนําเสนอผลการเก็บขอมูลภาคสนาม จะแสดงใหเห็นลักษณะที่แตกตางกันของขอมูลที่ไดมาจากวิธีการ

              เก็บขอมูล 2 แบบ คือ
                     (1) ขอมูลที่ไดจากการสัมภาษณเชิงลึก การสัมภาษณเชิงลึก (in-depth interview) เปนเครื่องมือ

              ที่เหมาะสําหรับการเก็บขอมูลกับผูใหขอมูลหลักหรือกรณีศึกษาที่แตกตางไปจากกรณีทั่วไป อยางไรก็ดี เนื่องจาก
              ขอมูลของผูติดเชื้อถือเปนความลับเฉพาะบุคคล การเขาถึงขอมูลจําเปนตองไดรับการยินยอมจากตัวผูติดเชื้อเอง

              ในบางกรณี จึงไมสามารถสัมภาษณตัวผูติดเชื้อไดโดยตรง แตอาศัยการสัมภาษณตัวกลางซึ่งเปนผูไดรับการติดตอ
              จากผูติดเชื้ออีกตอหนึ่ง


              99   แบบฟอรมการตรวจรางกาย ในหนังสือสภาผูแทนราษฎรที่ 8225/2552 วันที่ 4 ธันวาคม 2552 จากประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
                ถึงผูอํานวยการโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนทุกแหงทั่วประเทศ เพื่อขอความอนุเคราะหใหการสนับสนุนการตรวจรางกายและตรวจเลือดของผูที่จะเขา
                อุปสมบท
              100  ดูตัวอยางไดใน http://www.watphrasri.org/index.php?option=com_content&task=view&id=39&Itemid=25
              101  เดลินิวส 28 สิงหาคม 2555 [online] available from http://www.dailynews.co.th/education/152148
              102  ขาวสด 28 สิงหาคม 2555 [online] available from http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXhNVEk0TURnMU5R
               PT0=
              103  ประธานเครือขายผูติดเชื้อเอชไอวีแหงประเทศไทย, การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะหขอมูล, 24 ตุลาคม 2556
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78