Page 70 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 70

รายงานการศึกษาวิจัย  43
                                                             การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



               โดยมีเหตุผลสําคัญวาเปนเพราะไมมีความเชื่อมั่น หรือเชื่อมั่นนอยวากระบวนการรองเรียนจะทําใหเกิดการแกไข
               ปญหา และอีกสวนหนึ่งมองวา กระบวนการรองเรียนมีขั้นตอนยุงยากและลาชามากเกินไปในดานหนึ่ง งานวิจัย

               ฉบับนี้อาจจะแสดงใหเห็นแนวโนมที่ดีขึ้นของสภาวะการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
               แตในอีกดานหนึ่ง ขอมูลดังกลาวก็ยังยืนยันวาสถานการณการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี

               ยังดํารงอยูในสังคมไทย
                      3.1.2  สภาพปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีรายกรณี

                             สําหรับการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี ขอมูลไดมาจากการทบทวน
               เอกสารชั้นตน รวมทั้งหนังสือรองเรียน หนังสือชี้แจงจากหนวยราชการและรายงานผลการดําเนินงานของ

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ โดยมีกรณีที่สําคัญ 3 กรณี ดังนี้
                             1)  การเลือกปฏิบัติในฝายขาราชการตุลาการ ปรากฏในระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาล

               ยุติธรรม วาดวยโรคอันมีลักษณะตองหามที่จะเปนขาราชการตุลาการ พ.ศ. 2545 เปนระเบียบที่ออกตาม
               ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม วาดวยหลักเกณฑและวิธีการตรวจสอบคุณสมบัติของผูสมัครสอบ

               คัดเลือก ผูสมัครทดสอบความรู หรือผูสมัครเขารับการคัดเลือกพิเศษ เพื่อบรรจุเปนขาราชการตุลาการในตําแหนง
               ผูชวยผูพิพากษา พ.ศ. 2545 ระเบียบทั้งสองฉบับ ประกาศใช ณ วันที่ 10 มกราคม 2545 กําหนดเงื่อนไขเรื่อง

               โรคอันมีลักษณะตองหามที่จะเปนขาราชการตุลาการ แมมิไดกําหนดเรื่องโรคเอดสไวโดยแจงชัด แตตามระเบียบ
               ขอ 3 (6) ไดกําหนดเรื่องโรคติดตอที่เปนเหตุใหไมเหมาะสมที่จะเปนขาราชการตุลาการซึ่งอาจมีการใชดุลพินิจหรือ

               การปฏิบัติอันเปนการรังเกียจ หรือเลือกปฏิบัติเนื่องจากเอดสได
                             ในกรณีนี้ ศูนยคุมครองสิทธิดานเอดส เคยทําหนังสือถึงประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ

               เพื่อขอใหตรวจสอบและดําเนินการยกเลิกระเบียบปฏิบัติดังกลาว โดยอางถึงการรองทุกขเกี่ยวกับหนวยงานของรัฐ
               ที่มีระเบียบปฏิบัติที่มีลักษณะเลือกปฏิบัติ และละเมิดสิทธิมนุษยชนของผูติดเชื้อเอชไอวี/เอดส โดยมีการบังคับ

               ตรวจเอดสผูสมัครเขารับราชการในตําแหนงอัยการผูชวยและผูชวยผูพิพากษา  หากพบวา ผูสมัครสอบรายใดติด
                                                                        90
               เชื้อเอชไอวีจะไมไดรับสิทธิใหเขาสอบเพื่อดํารงตําแหนงดังกลาว  ซึ่งนาสนใจวา ในกรณีของอัยการผูชวย
               สํานักงานอัยการสูงสุดไดทําหนังสือถึงประธานคณะกรรมการมูลนิธิศูนยคุมครองสิทธิดานเอดสวา ตามกฎกระทรวง
               ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2504) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบขาราชการฝายอัยการ พ.ศ. 2503 วาดวยโรค

               และประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง กําหนดโรคอันมีลักษณะตองหามที่จะเปนขาราชการอัยการ พ.ศ. 2555
               แมจะมีขอกําหนดถึง “โรคติดตอที่เปนเหตุใหไมเหมาะสมที่จะเปนขาราชการอัยการ” แตก็มิไดมีขอกําหนดใหผูที่มี

               เชื้อเอชไอวี เปนหรือถือวาเปนโรคอันมีลักษณะตองหามที่จะเปนขาราชการอัยการ  สํานักงานอัยการสูงสุดจึงไมเคย
                                                               91
               มีนโยบายตรวจหาเชื้อเอชไอวีในผูสมัครสอบอัยการผูชวย  ในขณะที่กรณีผูชวยผูพิพากษายังไมมีความคืบหนา
               อยางชัดเจน อยางไรก็ดี ในกรณีของผูชวยผูพิพากษานี้ อาจพิจารณาเทียบเคียงจากบรรทัดฐานของกรณีตัวอยาง
               ที่มีลักษณะใกลเคียงกันไดกลาวคือ เปนกรณีที่สํานักงานผูตรวจการแผนดินเคยเสนอใหศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา

               วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) วา พระราชบัญญัติระเบียบขาราชการฝายตุลาการศาลยุติธรรม





               90  หนังสือ ศคส. 047/2550 วันที่ 23 กรกฏาคม 2550
               91  หนังสือ อส 0003 (คก2)/3287 วันที่ 12 ตุลาคม 2555
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75