Page 101 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 101

74  รายงานการศึกษาวิจัย
              การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



                            -  กรณีที่ผูติดเชื้อเปดเผยตนเองตอคนรอบขางและคนในชุมชนโดยไมสมัครใจ ทําใหตองประสบ
              ความยากลําบากในการดํารงชีวิต ไมเฉพาะตัวผูติดเชื้อ แตรวมถึงครอบครัวและคนใกลชิด ไดรับผลกระทบจากการ

              ถูกตีตราและตั้งขอรังเกียจจากคนในชุมชนดวย
                            -  การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ เปนจุดเริ่มตนหนึ่งที่สงผลใหมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

              ดานอื่น ๆ ของผูติดเชื้อ ไมวาจะเปนการถูกบังคับใหเขารับบริการทางการแพทย รวมทั้งตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี
              การถูกกักตัว กักเพื่อตรวจโรค ถูกทอดทิ้งใหโดดเดี่ยว แบงแยกทั้งยังมีการตรวจเลือดการไดรับบริการปรึกษาที่ไม

              รอบดาน บีบบังคับการแจงผลเลือด การถูกกดดันใหบอกสถานะของการติดเชื้อ ถูกเลือกปฏิบัติในการเขารับบริการ
              ทางการแพทย เชน ถูกจัดใหทําฟนหรือตรวจมะเร็งปากมดลูกเปนลําดับทาย

                            -  ผลกระทบตอเศรษฐกิจในภาพรวม เมื่อสํานักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติใหบริการ
              โครงการหลักประกันสุขภาพถวนหนา โดยครอบคลุมยาตานไวรัสสําหรับผูติดเชื้อ เพื่อใหผูติดเชื้อมีสุขภาพแข็งแรง

              และสามารถดําเนินชีวิตไดตามปกติ แตในทางปฏิบัติ กลับมีการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ
              ทําใหกําลังแรงงานสวนหนึ่งหายไปจากระบบอยางนาเสียดาย

                     5.1.3  สาเหตุของการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
                            จากผลการศึกษาที่ผานมาพบวา สาเหตุหลักของการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของ

              ผูติดเชื้อมีดังนี้
                            -  การขาดความรูที่ถูกตองของคนในสังคมเรื่องการติดเชื้อเอชไอวี ทําใหนายจางในกิจการ

              ประเภทที่เกี่ยวของกับอาหารและการบริการ หวาดกลัว และตั้งขอรังเกียจ
                            -  การขาดความรูในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายไทย ทั้งในสวน

              ของนายจาง และตัวผูติดเชื้อเอง สาเหตุนี้ทําใหนายจางจํานวนมากยังคงมีนโยบายเลือกปฏิบัติ ในขณะที่ตัวผูติดเชื้อ
              จํานวนมากก็ไมรูสิทธิของตนเอง และยอมรับการถูกละเมิดสิทธิ

                            - การขาดความรูความเขาใจในเรื่องความกาวหนาทางเทคโนโลยีในการดูแลรักษาที่สามารถ
              ทําใหผูติดเชื้อเอชไอวีสามารถดํารงชีวิตไดตามปกติ ทําใหผูคนจํานวนมากยังเขาใจวาผูติดเชื้อเอชไอวีจะมีสุขภาพ

              ไมแข็งแรง นายจางจํานวนหนึ่งจึงไมยอมจางผูติดเชื้อเขาทํางาน เพราะเกรงวาจะไมคุมและตองมีรายจายเพิ่ม
                            - อคติของคนในสังคมที่ยังคงมองวา ผูติดเชื้อเอชไอวีเปนผูที่มีพฤติกรรมไมพึงประสงค จึงไมควร

              จะไปเกี่ยวของกับผูติดเชื้อ
                            การขาดความรู ความเขาใจและอคติเหลานี้ เปนผลมาจากการรณรงคปองกันการระบาดของ

              โรคเอดสตั้งแตทศวรรษแรก ๆ ที่มีลักษณะขูใหคนกลัวซึ่งการปลูกฝงมายาคติ ทําใหเอดส และเชื้อเอชไอวี
              เปนเรื่องนากลัว โดยนโยบายการบริหารจัดการเอดสของภาครัฐเชนนี้ เคยถูกวิจารณวา นโยบายของรัฐ

              ในการจัดการปญหาโรคเอดส คือ การลดพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อปองกันการแพรระบาดของเชื้อเอชไอวีไปยังผูอื่น
              ตกอยูภายใตแนวคิดระบาดวิทยานั้น เปนการจํากัดมุมมองไมใหเห็นเอดสในมิติอื่นๆ และยิ่งเปนซํ้าเติมการตีตรา

              และการเลือกปฏิบัติอยูตอไป
                            จากการศึกษาสถานการณและปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพตอผูอยูรวมกับ

              เชื้อเอชไอวีของไทย พบวา ภายใตกรอบกฎหมายปจจุบัน  แมประเทศไทยยังไมมีกฎหมายเฉพาะเพื่อขจัด
              การเลือกปฏิบัติตอกลุมผูอยูรวมกับเชื้อเอชไอวี แตรัฐธรรมนูญของประเทศไทยไดมีบทบัญญัติในหลัก
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106