Page 103 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 103

76  รายงานการศึกษาวิจัย
              การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



                     5.2.1  ขอเสนอเชิงนโยบายและขอเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติในการ
              ประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี

                            แมวารัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะมีบทบัญญัติเพื่อคุมครองบุคคล
              จากการเลือกปฏิบัติ ดังที่ปรากฏในมาตรา 30 วรรคสาม แตกฎหมายที่ใชในการคุมครองสิทธิของผูประสบปญหา

              ถูกเลือกปฏิบัติยังมีลักษณะกระจัดกระจาย เชน ในประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย
              อีกทั้งผูประสบปญหาการเลือกปฏิบัติก็ไมสามารถเขาถึงกลไกการคุมครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญไดโดยตรง

              จึงมีความจําเปนตองพิจารณาบัญญัติกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติ ที่กําหนดบรรทัดฐานที่ชัดเจนในการคุมครอง
              กรณีการถูกเลือกปฏิบัติทั้งที่หนวยงานรัฐและหนวยงานภาคเอกชนตองปฏิบัติตาม อันจะเปนแนวทางหนึ่งในการ

              แกไขปญหาการเลือกปฏิบัติที่ปรากฏในระเบียบปฏิบัติของหนวยงานตาง ๆ รวมทั้งการสรางกลไก/กระบวนการ
              คุมครองสิทธิที่ผูถูกละเมิดสิทธิสามารถเขาถึงไดโดยตรง ดังนั้น จําเปนตองมีการผลักดันกฎหมายเพื่อขจัดการเลือก

              ปฏิบัติ หรือกฎหมายเพื่อความเสมอภาคในภาพรวมในลักษณะเดียวกับกฎหมายเสมอภาคของสหราชอาณาจักร
              และเพื่อลดปญหาการซํ้าเติมการเลือกปฏิบัติ และเสริมพลังการขับเคลื่อนกฎหมาย กฎหมายฉบับนี้ ไมจําเปนตอง

              เปนกฎหมายเฉพาะสําหรับผูติดเชื้อเอชไอวี แตตองสังเคราะหรวมกับปญหาการเลือกปฏิบัติในกลุมอื่นๆ ไดแก
              กลุมคนพิการ ผนวกกลุมเปาหมายอื่นที่ประสบปญหาการเลือกปฏิบัติดวย โดย

                            (1) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ผลักดันโดยตรงดวยการเสนอแนะนโยบายและขอเสนอ
              ในการปรับปรุงกฎหมายและกฎที่มีเนื้อหาขจัดการเลือกปฏิบัติตอรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี เพื่อคุมครองสงเสริม

              และคุมครองสิทธิมนุษยชนตอผูที่สุมเสี่ยงตอการถูกเลือกปฏิบัติ ตามอํานาจหนาที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
              แหงชาติ ในบทบัญญัติ มาตรา 257(5) ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  โดยกําหนดให
                                                                                             175
              มีเนื้อหาที่ครอบคลุมการขจัดการเลือกปฏิบัติตอกลุมผูติดเชื้อเอชไอวี ผูที่ไดรับผลกระทบจากเชื้อเอชไอวี รวมถึง
              กลุมเปาหมายอื่น ๆ ที่ประสบปญหาการเลือกปฏิบัติ

                               โดยแนวทางในการบัญญัติกฎหมายดังกลาว จะตองมีลักษณะดังนี้
                               -   ตั้งอยูบนพื้นฐานแหงสิทธิ (Rights based)

                               -   มีมิติเพื่อตอบสนองตอหญิงชายอยางเทาเทียม (gender responsiveness)
                               -   ใหความสําคัญกับรูปแบบของกลไกการรองทุกข วิธีการเยียวยาและลักษณะขององคกรที่

              ทําหนาที่รับเรื่องราวการรองทุกข การติดตามประเมินผล และการรายงานผล
                               สําหรับบทบัญญัติเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพนั้น ควรมีประเด็นในเรื่อง

              ตอไปนี้
                               -   สงเสริมบทบาทของนายจาง องคกรลูกจาง และองคกรภาคประชาสังคม เพื่อสงเสริมการ

              คุมครองสิทธิของกลุมผูอาศัยอยูรวมกับเชื้อเอชไอวีทั้งในระหวางการจัดหางาน การสมัครงาน และการจางงาน
                               -   มีบทลงโทษในกรณีการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ การละเมิดสิทธิสวนบุคคล

              และการเปดเผยขอมูลลับตาง ๆ ที่มีความชัดเจนและเพียงพอ ทั้งบทลงโทษทางอาญาและบทลงโทษทางแพง
              เพื่อปองกันการเลือกปฏิบัติ



              175  รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 257 (5) “เสนอแนะนโยบายและขอเสนอในการพัฒนากฎหมายและกฏ ตอรัฐสภา หรือ
                คณะรัฐมนตรีเพื่อสงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชน”
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108