Page 96 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 96

รายงานการศึกษาวิจัย  69
                                                             การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



                      กรณีศึกษาที่สําคัญ
                      การแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี


                      กรณีที่ 1 กรณีบริษัทขายเครื่องใชในบาน
                      กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อผูติดเชื้อคนหนึ่งเขาไปสมัครงานในบริษัทขายเครื่องใชในบานที่บริษัทสาขาในภูมิภาค

               และถูกบังคับใหตรวจเลือดในการสมัครงาน ผูติดเชื้อจึงนําเรื่องไปปรึกษากับเครือขายผูติดเชื้อในระดับพื้นที่ ซึ่งมี
               การประสานงานกับเครือขายผูติดเชื้อเอชไอวี/เอดส ระดับประเทศ (TNP+) เมื่อเครือขายทราบถึงกรณีดังกลาว

               ประธานเครือขายฯ ไดทดลองไปสมัครงานในบริษัทแหงนั้น เมื่อประสบปญหาเดียวกัน จึงมีการนัดหมายให
               คณะอนุกรรมการคุมครองสิทธิเขาไปทําความเขาใจกับเจาของกิจการ เมื่อเจาของกิจการเขาใจวาการบังคับตรวจ

               เลือดเปนการละเมิดสิทธิของผูติดเชื้อ ซึ่งผิดหลักกฎหมายหลายประการ เจาของกิจการจึงปรับเปลี่ยนนโยบาย
               ยกเลิกการบังคับตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีในการจางงาน ซึ่งมีผลในการกําหนดนโยบายการจางงานกับ

               ทุกสาขาในบริษัทดังกลาว แตในกรณีนี้ เจาของกิจการไมตองการประชาสัมพันธใหเปนที่โดดเดน เนื่องจาก
               ไมแนใจวาถาเปนกรณีตัวอยางที่ชัดเจนแลวจะเปนผลดีตอบริษัทหรือไม

                      ที่มา :  รวบรวมขอมูลจากประธานเครือขายผูติดเชื้อเอชไอวี/เอดส (ประเทศไทย) ในการสนทนากลุมใน
               โครงการหลายครั้ง เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2556 และ 1 มีนาคม 2556 และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการ

               วิเคราะหขอมูลเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2556 และขอมูลจากตัวแทนเจาของกิจการดังกลาว ในการสนทนากลุม
               นายจางของโครงการ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2556


                      กรณีศึกษาที่ 2 กรณีรานอาหาร
                      จากขอมูลกรณีศึกษาเรื่องถูกใหออกจากงานเพราะติดเชื้อเอชไอวี (ในบทที่ 3) ผูติดเชื้อไดรับ

               ความชวยเหลือจากเพื่อนของผูติดเชื้อดวยกัน แนะนําใหปรึกษาเจาหนาที่ในองคกรภาคประชาสังคม ซึ่งมีการสงตอ
               ไปยังมูลนิธิศูนยคุมครองสิทธิดานเอดส (FAR) หลังไดรับเรื่องรองเรียน FAR ไดสนับสนุนใหผูติดเชื้อไปรองเรียนตอ

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ซึ่งตอมา คณะอนุกรรมการดานสิทธิทางเศรษฐกิจฯ ไดนัดหมายใหมีการเจรจา
               เพื่อทําความเขาใจระหวางเจาของกิจการและผูติดเชื้อ รวมถึงเจาหนาที่จาก FAR ซึ่งเปนพี่เลี้ยงของผูติดเชื้อดวย

               ในการเจรจาเจาของกิจการยอมรับวาไมมีนโยบายเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อในองคกร แตการเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้น
               เกิดจากการใชวิจารณญาณของผูจัดการสาขาที่ขาดความเขาใจในเรื่องการแพรระบาดของเชื้อเอชไอวีและสิทธิ

               ของผูติดเชื้อ หลังจากการทําความเขาใจเจาของกิจการไดเสนอที่จะรับผูติดเชื้อเขาทํางานตอไป
                      ขอมูลจาก: การสัมภาษณผูติดเชื้อ ผูใกลชิด และเจาหนาที่ FAR, วันที่ 27 พฤษภาคม 2556



               4.3  บทวิเคราะหเรื่องกลไกในการดําเนินงานสงเสริมและคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ
                      จากขอมูลการดําเนินงานเรื่องการสงเสริมและการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ พอจะ

               ทําใหสรุปไดวา ในเรื่องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี ที่ผานมา กลไกในการ
               สงเสริมสิทธิของผูติดเชื้อไมสามารถเขาถึงผูติดเชื้อในวงกวาง ในภาคเอกชน พบวากรณีการรับรองมาตรฐาน ASO

               Thailand ที่ดูจะเปนกลไกหลักในการสงเสริมสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ ก็ยังมีขอจํากัดในการ
               ดําเนินงานที่เนนกลุมเปาหมายเฉพาะกลุมนายจางเปนหลัก ทําใหนายจางมีอํานาจตัดสินใจในการเลือกที่จะเขารวม

               หรือไมเขารวมโครงการ ในขณะเดียวกับที่องคกรลูกจางในปจจุบัน ก็ไมไดใหความสนใจในประเด็นสิทธิของ
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101