Page 102 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 102

รายงานการศึกษาวิจัย  75
                                                             การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



               ความเสมอภาคและการไมเลือกปฏิบัติ อีกทั้งยังมีบทบัญญัติวาดวยการเลือกปฎิบัติที่เปนธรรมเพื่อใชเปนมาตรการ
               คุมครองกลุมที่มีความแตกตางในสถานการณที่แตกตาง ซึ่งกรณีของกลุมผูอยูรวมกับเชื้อเอชไอวีก็จะไดรับ

               ประโยชนจากบทบัญญัติดังกลาวเชนกัน เมื่อพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
               พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 วรรคสาม จะพบวาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ อาทิ การบังคับใหมีการ

               ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวีของผูสมัครงานหรือพนักงาน ไมวาระหวางการจัดหางาน การสมัครงานหรือ
               การจางงาน รวมตลอดถึงการเลิกจางพนักงานดวยเหตุที่เปนผูอยูรวมกับเชื้อเอชไอวี ถือวาเปนการกระทําที่ขัดตอ

               รัฐธรรมนูญ นอกจากการกระทําที่ขัดตอบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญแลว พบวา การกระทําของนายจางบางประการ
               อาทิ การเขาถึงขอมูลดานสุขภาพของลูกจางโดยไมไดรับความยินยอม หรือการขอใหโรงพยาบาลแจงผลการตรวจ

               สุขภาพและการตรวจเลือดถือเปนการละเมิดสิทธิสวนบุคคล และเปนทั้งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและ
               ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย

                             แมรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยไดรับรองและคุมครองบุคคลจากการเลือกปฏิบัติจากการ
               ศึกษาพบวา ปญหาเชิงโครงสรางของระบบกลไกการรองทุกขภายใตรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีกระบวนการและขั้นตอน

               ที่ซับซอนและอาจตองใชเวลานานเกินความจําเปน เนื่องจากมีความทับซอนในเขตอํานาจขององคกรที่เกี่ยวของ
               หลายองคกร เชน กรณีที่บุคคลถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว หากจะใชสิทธิทางศาลรัฐธรรมนูญ

               เพื่อมีคําวินิจฉัยในกรณีมีบทบัญญัติแหงกฎหมายขัดหรือแยงตอรัฐธรรมนูญ จะสามารถกระทําได ก็ตอเมื่อได
               ดําเนินการตามชองทางอื่น ๆ (มาตรา 212) เชน ยื่นคํารองผานผูตรวจการแผนดิน (มาตรา 245) คณะกรรมการ

               สิทธิมนุษยชนแหงชาติ (มาตรา 257) หรือ ศาล (มาตรา 211) กลายเปนอุปสรรคสําคัญที่ทําใหบุคคลผูถูกกระทบ
               สิทธิประสบปญหาการเขาถึงกลไกการรองทุกขและการไดรับการเยียวยาจากการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากไมตองการ

               ที่จะเขาสูกระบวนการตามกลไกที่มีอยู ดังนั้น ควรมีการพิจารณาพัฒนากลไกการรองทุกขที่มีความสอดคลองกับ
               ความตองการของผูติดเชื้อเอชไอวี

                             นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบวา การดําเนินกิจกรรมการสงเสริมการเขาถึงกลไกการรองทุกข
               ของหนวยงานที่เกี่ยวของในที่นี้ คือ ภาครัฐและภาคประชาสังคมยังขาดการบูรณาการในมิติตาง ๆ อยางชัดเจน

               อาทิ การบริหารจัดการฐานขอมูลรวมกัน แนวปฏิบัติในการสรางกลไกการสงตอ และระบบการติดตามประเมิน
               ผลอยางมีประสิทธิภาพ สงผลกระทบตอการกําหนดแผน หรือยุทธศาสตรดานการสงเสริมการเขาถึงกลไกการ

               คุมครองอยางเปนระบบ


               5.2 ขอเสนอแนะเพื่อการแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี


                      ในการเสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสมในการแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ
               เอชไอวีในที่นี้ คณะผูวิจัย แบงขอเสนอเปน 2 แบบ คือ ขอเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวของกับกฎหมาย ซึ่งไดมาจาก

               การทบทวนแนวคิดหลักความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ หลักการสิทธิมนุษยชน และมาตรฐานสากลที่
               เกี่ยวของกับการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี โดยสังเคราะหรวมกับผลการศึกษาสภาพ

               และสาเหตุการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีในบริบทประเทศไทย และแบบที่สองเปน
               ขอเสนอแนะแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ โดยใช

               มาตรการอื่น ๆ แตละสวนมีรายละเอียดดังนี้
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107