Page 93 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 93
78 รายงานการศึกษาวิจัย
เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว
เมื่อขอมูลเกี่ยวกับประวัติสวนตัวของผูตายดวยโรคเอดสนั้นเปนขอมูลที่เกี่ยวดวยสิทธิ
ในความเปนอยูสวนตัวเกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลและสิทธิในชีวิตและรางกายซึ่งจะตองไดรับการคุมครองตาม
กฎหมาย จึงกอใหเกิดหนาที่หรือความผูกพันตอบุคคลอื่นที่จะตองเคารพตอสิทธิดังกลาว โดยไมกระทําการเปดเผย
ขอมูลดังกลาวโดยมิไดรับความยินยอมของบุคคลนั้นโดยชัดแจงแตอยางใด โดยนัยดังกลาว การดําเนินการดังกลาว
ตามกรณีศึกษาจึงเปนการแทรกแซงสิทธิในความเปนอยูสวนตัวอันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผูตายนั้น
ประเด็นที่สาม การคุมครองสิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมไปถึงบุคคลผูเสียชีวิตไปแลวหรือไม
สิทธิในความเปนอยูสวนตัวเกี่ยวกับสิทธิในชีวิตและรางกาย เปนสิทธิที่ติดตัวปจเจกบุคคล
มาตั้งแตเกิด เปนสิทธิของปจเจกบุคคลที่มีอยูในสภาวะธรรมชาติ และเปนสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยที่จําเปน
อยางยิ่งตอการดํารงอยูของมนุษย เปนสิทธิขั้นพื้นฐานที่แสดงใหเห็นวามนุษยมีอิสระที่จะกําหนดตนเองได
ตามเจตจํานงที่ตนประสงคและไมอาจจะถูกพรากไปจากบุคคลได บุคคลแตละคนจึงตองเคารพในขอบเขตปริมณฑล
สวนบุคคลของผูอื่น ดวยเหตุนี้สิทธิในชีวิตและรางกายจึงเปนรากฐานสําคัญของ “ศักดิ์ศรีความเปนมนุษย”
นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญแหงสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี ไดเคยวินิจฉัยประเด็นดังกลาว
86
ไวในคดี Mephisto วา “หลักการตามที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญที่หามมิใหละเมิดตอศักดิ์ศรีความเปนมนุษย
อันถือวาเปนพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพทั้งปวงนั้น กรณียอมเปนการไมสอดคลองกับการคุมครองศักดิ์ศรี
ความเปนมนุษย หากบุคคลนั้นในขณะที่เขามีชีวิตอยูเขาไดรับความเคารพในศักดิ์ศรีความเปนมนุษยของเขา
แตเมื่อบุคคลนั้นตายไปแลวเขากลับถูกลดศักดิ์ศรีหรือถูกทําใหไดรับความเสื่อมเสียภายหลังจากความตาย
ของบุคคลนั้น ดังนั้น ความผูกพันที่จะตองใหความเคารพในศักดิ์ศรีความเปนมนุษยที่ผูกพันอํานาจรัฐตามที่
บัญญัติไวในมาตรา 1 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญนั้น ความผูกพันดังกลาวของรัฐตอศักดิ์ศรีความเปนมนุษยนั้นมิได
สิ้นสุดลงพรอมกับความตายของบุคคลนั้นแตอยางใด”
4) สรุป
การดําเนินการตามกรณีศึกษาดังกลาว เมื่อครั้งที่ผูปวยโรคเอดสยังมีชีวิตอยู เขามีสิทธิ
ในชีวิตและรางกายและมีสิทธิที่จะไดรับการปกปดขอมูลเกี่ยวกับตนเองจาก ผูประกอบวิชาชีพดานสุขภาพ
โดยเครงครัด ซึ่งสิทธิตางๆ ดังกลาวถือเปนสวนหนึ่งของ “ศักดิ์ศรีความเปนมนุษย” ที่รัฐธรรมนูญแหง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 4 ไดบัญญัติใหความคุมครองไวอยางชัดเจน ดังนั้น การคุมครองศักดิ์ศรี
ความเปนมนุษยจึงมิไดสิ้นสุดลงพรอมกับความตายของบุคคลนั้นแตอยางใด ซึ่งการนําศพผูปวยเอดสมาแสดง
โดยไมมีเสื้อผาปกคลุม พรอมแสดงประวัติผูตายวาประกอบอาชีพอะไร หรือใชชีวิตแบบใดจึงติดเชื้อ เชน
ขายบริการ หรือใชยาเสพติด เปนตน แมวากรณีดังกลาวผูเสียชีวิตไดทําหนังสือแสดงความยินยอมใหนําศพไปใช
เพื่อการศึกษาไดและการนําศพมาแสดงก็มีวัตถุประสงคที่จะเปนอุทาหรณสอนใจใหผูคนเกรงกลัวตอโรคเอดสก็ตาม
แตการกระทําดังกลาวยอมจะมีผลเปนการละเมิดศักดิ์ศรีความเปนมนุษยและสิทธิในชีวิตและรางกายของผูตาย
เนื่องจากเปนการนํารางกายและรายละเอียดสวนบุคคลมาเผยแพรตอสาธารณะ ดังนั้น หากจําเปนที่จะตองมีการ
นําศพมาแสดงเพื่อจะใหเปนอุทาหรณสอนใจใหบุคคลอื่น ๆ ระมัดระวังมิใหติดเชื้อ HIV ก็อาจจะกระทําโดยความ
ระมัดระวังในการแสดงประวัติบุคคล มิใหมีลักษณะที่จะกอใหเกิดความเสียหาย ตอชื่อเสียง เกียรติยศของผูนั้น เชน
จะตองไมมีการเปดเผยรายละเอียดสวนตัวของบุคคล เชน ชื่อ – สกุล ที่อยู อาชีพของผูตาย เปนตน
86 BVerfGE 30,173 (194)