Page 95 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 95

80     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                             2)   ประเด็นปญหาทางกฎหมาย
                                 ประเด็นที่หนึ่ง ขอมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของบุคคลหนึ่งมีลักษณะเปนขอมูล
              สวนบุคคลอันเกี่ยวดวยสิทธิในความเปนสวนตัวหรือไม

                                 ประเด็นที่สอง การที่บิดาของบุตรที่เสียชีวิตขอขอมูลเวชระเบียนของบุตรผูตาย ตลอดจน

              เอกสารตาง ๆ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลบุตรของตนที่เสียชีวิตนั้น เพื่อนําไปใชประกอบการเรียกรองคาเสียหาย
              ตามกรณีศึกษา เปนการแทรกแซงสิทธิในความเปนสวนตัวอันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุตรของตนหรือไม
                             3)   แนวทางการพิจารณา

                                 ประเด็นที่หนึ่ง ขอมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของบุคคลหนึ่งมีลักษณะเปนขอมูล

              สวนบุคคลอันเกี่ยวดวยสิทธิในความเปนสวนตัวหรือไม
                                 ในบริบทของกฎหมายและขอตกลงระหวางประเทศ ขอมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
              ของบุคคลหนึ่งยอมเปนขอมูลสวนบุคคลของบุคคลนั้น ขอมูลดังกลาวจึงเกี่ยวดวยสิทธิในความเปนอยูสวนตัว

              ประเภทหนึ่ง ในลักษณะที่เปนศักดิ์ศรีความเปนมนุษย ตามนัยแหงสิทธิในความเปนอยูสวนตัวที่ไดรับการรับรอง

              และคุมครองไวโดยชัดแจงในขอ 12 แหงปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน และขอ 8 วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญา
              แหงยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ดังที่ไดกลาวแลวขางตน กลาวอีกนัยหนึ่ง ขอมูล
              ดังกลาวยอมเกี่ยวดวยสิทธิในความเปนอยูสวนตัวในสวนที่เกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลของบุตรที่เสียชีวิตนั้นนั่นเอง

                                 ในบริบทของกฎหมายของประเทศไทย ขอมูลเกี่ยวกับประวัติสวนตัวของบุคคลยอมอยูใน

              ขอบเขตแหงสิทธิในความเปนอยูสวนตัวซึ่งไดรับความคุมครองตามบทบัญญัติ มาตรา 4 และมาตรา 35
              ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในอันที่บุคคลใดจะลวงละเมิดโดยมิชอบดวยกฎหมาย
              มิได โดยนัยดังกลาว สิทธิในความเปนอยูสวนตัวยอมตกอยูในความหมายของคําวา “สิทธิมนุษยชน” ตามนัย

              ที่ไดบัญญัติไวในมาตรา 3 แหงพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ พ.ศ. 2542

                                 อยางไรก็ตาม มีประเด็นปญหาที่จะตองพิจารณาเพิ่มเติมวาขอมูลเวชระเบียนผูปวย
              เปนกรรมสิทธิ์ของผูปวยหรือเปนของโรงพยาบาล ตอประเด็นปญหานี้ บุคลากรทางการแพทยระดับสูงหลายทาน
              ไดออกมาใหความเห็นวา “ขอมูลเวชระเบียนเปนบันทึกของแพทยเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผูปวย มีจุดประสงค

              สําหรับแพทยใชเองและเปนสมบัติสวนตัวของแพทยผูนั้น แตถาผูปวยรองขอแพทยควรใหบทสรุปซึ่งรวมประวัติ

              ผลการตรวจรางกาย ผลทางหองปฏิบัติการ การดําเนินโรคและยาที่ให เพื่อใหแพทยที่จะดูแลผูปวยตอไปรับทราบ
              การรับทราบขอมูลเกี่ยวกับการรักษาเฉพาะผูปวยเปนไปตามประกาศสิทธิผูปวยซึ่งไมใชกฎหมาย แตเปนขอตกลง
              ของสภาวิชาชีพ ซึ่งมีแพทยสภาเปนแกนนําเพื่อพิทักษผลประโยชนของผูปวยเปนหลัก” 88

                                 แตอยางไรก็ตาม ตามความเห็นของนักวิชาการกฎหมาย สถานะของขอมูลเวชระเบียนนั้น

              มีสถานะเปน “ขอมูลสวนบุคคล” ของบุคคลที่เกี่ยวของกับขอมูลเวชระเบียนนั้น
                                 ตอประเด็นปญหาดังกลาว ศาลปกครองกลางไดเคยวินิจฉัยไวในคดีหนึ่งซึ่งผูปวย
              ไดขอตรวจและคัดสําเนาเวชระเบียนจากโรงพยาบาลเกี่ยวกับขอมูลเกี่ยวกับการผาตัดรักษาและรายชื่อของแพทย

              ผูทําการรักษา แตโรงพยาบาลมีหนังสือแจงวาไมสามารถดําเนินการใหไดเนื่องจากเอกสารสูญหายไปโดยแจง



              88  คําสัมภาษณของเลขาธิการแพทยสภา, วารสาร Medical news, กันยายน 2548
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100