Page 92 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 92

รายงานการศึกษาวิจัย  77
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                        4.2.2   กรณีการนําศพของผูปวยโรคเอดสมาจัดแสดง โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผูปวยนั้น
                          1)   ขอเท็จจริง
                                  มูลนิธิคุมครองสิทธิดานเอดสและองคกรเครือขายไดยื่นเรื่องตอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

               แหงชาติ เพื่อขอใหตรวจสอบและดําเนินการยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีการนําศพของผูปวยที่เสียชีวิต

               ดวยโรคเอดสมาจัดแสดง และเปดใหประชาชนทั่วไปเขาชม โดยผูจัดงานดังกลาวอางวาเพื่อเปนอุทาหรณใหบุคคล
               ทั่วไปเกรงกลัวตอโรคเอดส ทั้งนี้ ผูจัดงานนั้นไดระบุชื่อและนามสกุลของผูตาย รวมทั้งประวัติของผูตายนั้น
               วาประกอบอาชีพใด หรือใชชีวิตแบบใดจึงติดเชื้อ HIV เชน ขายบริการ หรือใชยาเสพติด เปนตน แมวากรณีดังกลาว

               ผูตายไดทําหนังสือแสดงความยินยอมใหนําศพไปใชเพื่อการศึกษาไดก็ตาม

                              2)   ประเด็นปญหาทางกฎหมาย
                                  ประเด็นที่หนึ่ง ขอมูลประวัติเกี่ยวกับผูตายนั้นมีลักษณะเปนขอมูลอันเกี่ยวกับสิทธิในความ
               เปนสวนตัวหรือไม

                                  ประเด็นที่สอง การนําศพผูตายดวยโรคเอดสมาจัดแสดงโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ

               ประวัติสวนตัวของบุคคลนั้น ตามกรณีศึกษาเปนการแทรกแซงสิทธิในความเปนสวนตัวอันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชน
               ของผูตายนั้นหรือไม
                                  ประเด็นที่สาม การคุมครองสิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมไปถึงบุคคลผูเสียชีวิตไปแลวหรือไม

                              3)   แนวทางการพิจารณา

                                  ประเด็นที่หนึ่ง ขอมูลประวัติเกี่ยวกับผูตายนั้นมีลักษณะเปนขอมูลอันเกี่ยวกับสิทธิ
               ในความเปนสวนตัวหรือไม
                                  ในบริบทของกฎหมายและขอตกลงระหวางประเทศ ขอมูลเกี่ยวกับประวัติสวนตัวของ

               บุคคลหนึ่งยอมเปนขอมูลที่เกี่ยวดวยสิทธิในความเปนอยูสวนตัวเกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลและสิทธิในชีวิตและ

               รางกาย ในลักษณะที่เปนศักดิ์ศรีความเปนมนุษย ตามนัยแหงสิทธิในความเปนอยูสวนตัวที่ไดรับการรับรองและ
               คุมครองไวโดยชัดแจงในขอ 12 แหงปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน และขอ 8 วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแหง
               ยุโรปวาดวยการคุมครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานดังที่ไดกลาวแลวขางตน กลาวอีกนัยหนึ่ง

               ขอมูลดังกลาวยอมเกี่ยวดวยสิทธิในความเปนอยูสวนตัวในสวนที่เกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลของผูตายนั้นนั่นเอง

                                  ในบริบทของกฎหมายของประเทศไทย ขอมูลเกี่ยวกับประวัติสวนตัวของบุคคลยอมอยู
               ในขอบเขตแหงสิทธิในความเปนอยูสวนตัว ซึ่งไดรับความคุมครองตามบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 35
               ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในอันที่บุคคลใดจะลวงละเมิดโดยมิชอบดวยกฎหมาย

               มิได โดยนัยดังกลาว สิทธิในความเปนอยูสวนตัวยอมตกอยูในความหมายของคําวา “สิทธิมนุษยชน” ตามนัยที่ได

               บัญญัติไวในมาตรา 3 แหงพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ พ.ศ. 2542
                                  ดังนั้น ขอมูลเกี่ยวกับประวัติสวนตัวของผูตายจึงเปนขอมูลที่เกี่ยวดวยสิทธิในความเปนอยู
               สวนตัวเกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคล

                                  ประเด็นที่สอง การนําศพผูตายดวยโรคเอดสมาจัดแสดงโดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ

               ชื่อและนามสกุล รวมทั้งประวัติสวนตัวของบุคคลนั้นตามกรณีศึกษาเปนการแทรกแซงสิทธิในความเปนสวนตัว
               อันเปนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผูตายนั้นหรือไม
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97