Page 27 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 27

12     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                       1.3.1   การแทรกแซงในชีวิตความเปนสวนตัว ครอบครัว และเคหะสถาน
                       1.3.2   การแทรกแซงในทางกายภาพ หรือในทางจิตใจ หรือศีลธรรมและเสรีภาพในทางความคิด
                       1.3.3   การกระทําตอเกียรติยศและชื่อเสียง

                       1.3.4   การไขขาวแพรหลายซึ่งขอความอันฝาฝนความจริง ซึ่งทําใหเปนที่เสื่อมเสียในสายตาของ

              สาธารณชน
                       1.3.5   การเปดเผยขอเท็จจริงที่ไมถูกตองอันเปนที่นาอับอายเกี่ยวกับชีวิตความเปนสวนตัว
                       1.3.6   การใชชื่อหรือเครื่องหมายชี้เฉพาะหรือภาพโดยไมมีอํานาจ

                       1.3.7   การสืบความลับ การสอดรูสอดเห็น การติดตามเฝาดู และการรบกวน

                       1.3.8   การแทรกแซงการติดตอสื่อสารระหวางกัน
                       1.3.9   การเปดเผยขอมูลขาวสารที่เปนความลับ ซึ่งผูกระทําไดรับมาอันเนื่องมาจากการประกอบ
              วิชาชีพนั้น

                       1.3.10  การใชงานในทางที่มิชอบซึ่งการติดตอสื่อสารสวนบุคคล

                       ดังนั้น อาจกลาวไดวาขอบเขตที่บุคคลควรไดรับการคุมครองและการเคารพในสิทธิความเปนสวนตัว
              ก็คือการดํารงชีวิตอยางเปนอิสระ มีสิทธิที่จะแสวงหาความสุขในชีวิตตามวิถีทางที่อาจเปนไปไดและเปน
              ความพอใจตราบเทาที่ไมขัดตอกฎหมาย ไมขัดตอความสงบเรียบรอยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และไมเปน

              การลวงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผูอื่น

                       ในประเทศไทย หลักการคุมครองสิทธิสวนบุคคลไดปรากฏขึ้นอยางชัดเจนเปนครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ
              แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในมาตรา 34 ซึ่งบัญญัติวา
                       “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเปนอยูสวนตัว ยอมไดรับความคุมครอง

              การกลาวหรือไขขาวแพรหลาย ซึ่งขอความหรือภาพไมวาดวยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเปนการละเมิดหรือกระทบ

              ถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเปนอยูสวนตัว จะกระทํามิได เวนแตกรณีที่เปน
              ประโยชนตอสาธารณชน”
                       ตอมา เมื่อรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีผลใชบังคับ ก็ไดมีบทบัญญัติคุมครอง

              สิทธิในความเปนอยูสวนตัวไวในมาตรา 35 ซึ่งบัญญัติวา

                       “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเปนอยูสวนตัว ยอมไดรับความคุมครอง
                       การกลาวหรือไขขาวแพรหลายซึ่งขอความหรือภาพไมวาดวยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเปนการละเมิด
              หรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเปนอยูสวนตัว จะกระทํามิได เวนแตกรณี

              ที่เปนประโยชนตอสาธารณะ

                       บุคคลยอมมีสิทธิไดรับความคุมครองจากการแสวงประโยชนโดยมิชอบจากขอมูลสวนบุคคล
              ที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
                       จะเห็นไดวามาตรา 35 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

              เปนบทบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นจากมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อใหการ

              ความคุมครองขอมูลสวนบุคคลชัดเจนยิ่งขึ้น
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32