Page 31 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 31

16     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                             3)   เมื่อเปนประโยชนสาธารณะแลว ฝายปกครองมีหนาที่ที่ตองตอบสนองแตจะเลือกใช
              ดุลยพินิจวาจะทําหรือไมทํา ไมได
                             4)   ขอบเขตของ “ประโยชนสาธารณะ” นั้น มีขอบเขตที่กวางมากขึ้นอยูกับรัฐสภาจะกําหนด

              ในกฎหมายตาง ๆ

                             สําหรับการพิจารณาวาขอบเขตที่รัฐจะเขาแทรกแซงสิทธิและเสรีภาพของปจเจกบุคคล
              จะกระทําไดเพียงใดนั้น มีเกณฑสําคัญที่ใชในการพิจารณา ไดแก หลักการจํากัดสิทธิและเสรีภาพเทาที่
              จําเปนหรือหลักพอสมควรแกเหตุ หรือหลักความไดสัดสวน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งวา หลักหามมิใหกระทํา

              เกินกวาเหตุซึ่งเปนหลักที่มีความสําคัญอยางยิ่งในการนํามาใชควบคุมการใชอํานาจของรัฐที่มีผลกระทบตอสิทธิ

              และเสรีภาพของประชาชน โดยที่มาของหลักการดังกลาวนั้น มาจากหลักกฎหมายของสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี
              และเปนหลักกฎหมายที่ไดรับการยอมรับอยางกวางขวางในสหภาพยุโรป
                             หลักความไดสัดสวน เปนหลักที่ถือวามีความสําคัญโดยเฉพาะอยางยิ่งตอศาลรัฐธรรมนูญ

              ของสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี นับตั้งแตทศวรรษที่ 1950 ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธไดนําหลักการดังกลาวมาใช

              เปนเกณฑในการพิจารณาในกรณีที่มีการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หลักความไดสัดสวนนั้นเปนหลัก
              ที่นํามาใชเปนการทั่วไป โดยถือวาเปนหลักเกณฑตามรัฐธรรมนูญที่นํามาใชตรวจสอบความชอบดวยกฎหมายของ
              การกระทําของรัฐทุกประเภทโดยภาระหนาที่หลักของหลักความไดสัดสวนนั้นมิไดมีความหมายมุงหมายเฉพาะ

              การจํากัดการแทรกแซงของอํานาจรัฐเทานั้น  แตหากตีความหลักความไดสัดสวนอยางถูกตองแลว หลักความ

              ไดสัดสวนนั้น นอกเหนือจากจะเปนหลักการในทางเนื้อหาที่หามมิใหมีการใชอํานาจอยางอําเภอใจแลว ยังเปนเกณฑ
              มาตรฐานที่เปนสาระสําคัญในการควบคุมตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญอีกดวย โดยสาระสําคัญของหลักความ
              ไดสัดสวนนั้น มีสาระสําคัญอยู 3 ประการ คือ

                             1)   ความเหมาะสมของมาตรการหรือวิธีการสําหรับวัตถุประสงคอันใดอันหนึ่งโดยหลักความ

              เหมาะสม หมายความถึงสภาพการณซึ่งรัฐไดทําการแทรกแซงและภายในสภาพการณนั้นรัฐจะตองคํานึงถึงการ
              ทําใหบรรลุวัตถุประสงคที่ไดกําหนดไว โดยมาตรการนั้นวางอยูบนสมมติฐานที่ไดรับการยอมรับหรือเปนมาตรการ
              ที่ไดแสดงใหเห็นอยางแจงชัดวามีความเปนไปไดที่จะบรรลุวัตถุประสงคดังกลาว

                             2)   ความจําเปนของมาตรการหรือวิธีการ ศาลรัฐธรรมนูญของสหพันธ ไดอธิบายหลักความ

              จําเปนวา มาตรการใดมาตรการหนึ่งจะมีความจําเปนเมื่อไมสามารถที่จะเลือกมาตรการอื่นใดที่มีผลเชนเดียวกับ
                                                                                                  13
              มาตรการที่เลือกได อีกทั้งมาตรการนั้นเปนมาตรการที่มีผลกระทบตอสิทธิขั้นพื้นฐานนอยที่สุด  โดยการ
              ตรวจสอบความจําเปนของมาตรการอันใดอันหนึ่งนั้น มีเงื่อนไขพื้นฐานอยูที่การพิจารณาความเหมาะสมของ

              มาตรการนั้น เฉพาะมาตรการที่มีความเหมาะสมเทานั้นถึงจะนําไปสูการตรวจสอบตามหลักความจําเปน













              13  BVerfGE 30,292 (316);63,88 (115);70,278 (286)
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36