Page 25 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 25

10     รายงานการศึกษาวิจัย
                 เรื่อง  ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





              ประเทศอังกฤษ และไดจัดตั้งเปนประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นโดยมอบหมายใหนายโทมัส เจฟเฟอรสัน (Thomas
              Jefferson) ยกรางคําประกาศอิสรภาพ (The Declaration of Independence) และมีการประกาศเมื่อวันที่ 4
                                                                                                     9
              กรกฎาคม ค.ศ. 1776 โดยคําประกาศอิสรภาพไดยืนยันถึงสิทธิและเสรีภาพของมนุษยไวอยางชัดเจน  ตอมา
              เมื่อไดมีการจัดทํารัฐธรรมนูญแหงสหรัฐอเมริกาขึ้นและประกาศใชเมื่อ 17 กันยายน ค.ศ. 1787 ในอารัมภบท

              ของรัฐธรรมนูญก็ไดมีการรับรองหลักการของประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา (The Declaration of
              Independence) ไววา “เราประชาชนแหงสหรัฐเพื่อที่จะจัดตั้งสหภาพที่สมบูรณยิ่งขึ้น เพื่อที่จะสถาปนา
              ความยุติธรรม เพื่อที่จะประกันความสงบภายในเพื่อที่จะทําใหมั่นคงซึ่งเสรีภาพที่ไดรับมาแกตัวเราเอง

              และชนชั้นหลัง จึงไดบัญญัติและสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไวสําหรับสหรัฐอเมริกา”

                       1.1.3   คําประกาศวาดวยสิทธิของมนุษยและพลเมืองของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส
              (La Declaration des Droits de L’Homme et du citoyen)
                             ที่มาของคําประกาศฯ ฉบับนี้เกิดจากเหตุการณของประเทศฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 18 ซึ่งพระเจา

              หลุยสที่ 16 เปนกษัตริยที่ออนแอ และเศรษฐกิจของประเทศที่ยํ่าแย มีการเก็บภาษีไมเปนธรรม ประกอบกับ

              มีการเผยแพรแนวคิดของนักปราชญตาง ๆ เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทําใหประชาชนของ
              ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสกอการปฏิวัติครั้งใหญ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 โดยเขาทําลายคุก ซึ่งกักขัง
              นักโทษการเมืองและไดจับกุมชนชั้นปกครองมาประหารชีวิตเปนจํานวนมาก

                             ตอมา เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789 สมัชชาแหงสหประชาชาติไดประกาศใช “คําประกาศ

              วาดวยสิทธิของมนุษยและพลเมืองของสาธารณรัฐฝรั่งเศส” (“La Declaration des Droits de L’Homme
              et du citoyen”) ซึ่งมีเนื้อหาที่มุงเนนถึงเสรีภาพและความเทาเทียมกัน และสิทธิที่มีอยูโดยธรรมชาติ
              ซึ่งไดแก สิทธิในชีวิต สิทธิที่จะมีเสรีภาพ สิทธิในทรัพยสิน สิทธิที่จะมีความปลอดภัย และสิทธิที่จะตอตาน

              การกดขี่ สิทธิตามธรรมชาติเหลานี้จะตองไมถูกลิดรอน และเสรีภาพมีขอบเขตที่กวางขวางตราบเทาที่ไมเปนการ

              รบกวนสิทธิของผูอื่น
                             คําประกาศนี้มีความสําคัญอยางยิ่งและเปนเอกสารชิ้นแรกที่มีการแบงแยกระหวางสิทธิมนุษยชน
              กับสิทธิพลเมือง โดยใหความหมายสิทธิมนุษยชนไววาเปนสิทธิพื้นฐาน (Fundamental Rights) เพราะเปน

              สิทธิที่ดํารงอยูกอนรัฐ สวนสิทธิพลเมืองเปนสิทธิที่รัฐและกฎหมายบานเมืองกําหนดให สิทธิพลเมืองจึงตอง

              อยูภายใตสิทธิมนุษยชน โดยหลักการสําคัญที่คําประกาศฯ วางไว คือ หลักวาดวยเสรีภาพซึ่งถือเปน
              สิทธิประการแรกของมนุษย หลักวาดวยความถูกตองตามกฎหมาย และหลักวาดวยความเสมอภาค ซึ่งเปนที่ยอมรับ
              กันวาคําประกาศฉบับดังกลาวเปนเอกสารทางสิทธิมนุษยชนที่สําคัญและถูกนํามากลาวอางทั้งในการเผยแพร

              การศึกษา และเพื่อเปนเหตุผลสนับสนุนในการตอสูเพื่อมนุษยชน 10









              9   บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน : วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคตาง ๆ , พิมพครั้งที่ 2.
                กรุงเทพ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2537, หนา 59-60
              10  โภคิน  พลกุล, ปญหาและขอคิดบางเรื่องจากรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2521, หนา 87
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30