Page 24 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 24

รายงานการศึกษาวิจัย  9
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





                                                          บทที่ 1




                                  แนวคิดและพัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิความเปนสวนตัว



               1.1 แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิในความเปนสวนตัว
                        สิทธิความเปนอยูสวนตัวเปนสิทธิประการหนึ่งที่อยูในสิทธิมนุษยชน การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับ

               ความเปนสวนตัวจึงจําเปนอยางยิ่งที่จะตองศึกษาสิทธิมนุษยชนควบคูกันไปดวย แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้น
               อาจกลาวไดวามีจุดเริ่มตนจากคําสอนของศาสนาคริสตซึ่งสอนวามนุษยทุกคนเสมอเหมือนกันในสายตาของ

               พระผูเปนเจา มนุษยจึงมีความเสมอภาค มีศักดิ์ศรีของความเปนมนุษยและมีสิทธิเสรีภาพเสมอภาคเทาเทียมกัน
               การกระทําใด ๆ ที่ลิดรอนหรือทําลายสิ่งเหลานี้เปนการกระทําที่ผิด ซึ่งคําสอนของศาสนาคริสตดังกลาว

               สอดคลองกับแนวความคิดเรื่องกฎหมายและสิทธิตามธรรมชาติที่มีความเชื่อวาเหนืออํานาจสูงสุดของมนุษย
               คือ ธรรมชาติ และมนุษยถือกําเนิดขึ้นมาพรอมกับสิทธิในชีวิต สิทธิในทรัพยสิน เสรีภาพในรางกายและ

               ความเสมอภาคกัน สิทธิและเสรีภาพเหลานี้เปนสิ่งที่ติดตัวมนุษยมาตั้งแตเกิด ผูใชอํานาจปกครองไมมีอํานาจ
               ที่จะลบลางและมิอาจจะกาวลวงได ดังนั้น จึงอาจกลาวไดวาคําสอนของศาสนาคริสตและหลักกฎหมาย

               และสิทธิตามธรรมชาติ ถือเปนพื้นฐานสําคัญที่กอใหเกิดแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขึ้น
                        เมื่อคําสอนของศาสนาคริสตและแนวความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติมีการเผยแพรจากนักปราชญ

               ไปสูนักการเมืองและประชาชน ประกอบกับเกิดปญหาที่ผูใชอํานาจปกครองใชอํานาจเกินขอบเขต กอใหเกิด
               ความขัดแยงทางการเมือง จนกระทั่งตองจัดทําขอตกลงระหวางประชาชนและผูใชอํานาจปกครองในรูปแบบ

               ของเอกสารรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งขอตกลงที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสิทธิความเปนสวนตัว
               ที่สําคัญมี 3 ฉบับ ไดแก

                        1.1.1   The Great Charter หรือมหากฎบัตรแมกนา คารตา (Magna Carta) ของประเทศอังกฤษ
                              กฎบัตรดังกลาวมีที่มาจากตอนตนศตวรรษที่ 13 พระเจาจอหน ซึ่งเปนกษัตริยของประเทศอังกฤษ

               ใชอํานาจปกครองอยางไมเปนธรรม จนในที่สุดมีการตอตานจากผูใตปกครองและบังคับใหพระเจาจอหน
               ประกาศใชกฎหมายฉบับหนึ่ง คือ The Great Charter เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1215  กฎบัตรฉบับดังกลาว
                                                                                          8
               ถือเปนเอกสารชิ้นแรกทางประวัติศาสตรที่เกี่ยวกับการคุมครองสิทธิมนุษยชน โดยกฎบัตรดังกลาวมีสาระสําคัญ
               เปนการคุมครองประชาชนจากการกระทําตามอําเภอใจของผูใชอํานาจปกครอง

                        1.1.2   คําประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา (The Declaration of Independence)
                              ที่มาของคําประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา มีสาเหตุมาจากการที่ประเทศอังกฤษ

               ออกกฎหมายเก็บภาษีจากดินแดนอาณานิคมในจํานวนที่สูงมาก จนเกิดการตอตานจากดินแดนอาณานิคม
               อยางรุนแรง ทําใหดินแดนที่ตกเปนอาณานิคมของอังกฤษจํานวน 13 มลรัฐในทวีปอเมริกาตัดสินใจแยกตัวออกจาก







               8   กุลพล พลวัน, พัฒนาการแหงสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ : บริษัทสํานักพิมพวิญูชน จํากัด, พ.ศ. 2538 หนา 25
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29