Page 26 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 26

รายงานการศึกษาวิจัย  11
                                        เรื่อง ปญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุมครองสิทธิในความเปนอยูสวนตัว





               1.2 พัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิในความเปนสวนตัว
                        แมประเทศตาง ๆ จะมีออกกฎบัตรและคําประกาศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนออกมาใชบังคับ แตก็เปนเพียง
               ความพยายามที่จะสรางหลักประกันสิทธิมนุษยชนขึ้นภายในประเทศนั้น ๆ เทานั้น มิไดมีสถานะเปนหลักเกณฑ

               ระหวางประเทศแตอยางใด ประกอบกับหลังสงครามโลกครั้งที่สองไดเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยางรุนแรง

               ในประเทศตาง ๆ สังคมระหวางประเทศจึงมีแนวความคิดที่จะผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนใหเปนเรื่องระหวาง
               ประเทศหรือสิทธิระหวางประเทศที่ทุกประเทศจะตองเขาไปชวยเหลือเพื่อยกระดับมาตรฐานการคุมครอง
               สิทธิมนุษยชนใหดียิ่งขึ้น จนเกิดการกอตั้งองคการสหประชาชาติขึ้นเพื่อเปนหลักประกันที่จะใหความคุมครอง

               สิทธิมนุษยชน และการกอตั้งองคการสหประชาชาตินี่เองที่เปนจุดเริ่มตนของการจัดตั้งสถาบันระดับชาติเพื่อ

               สงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชนในเวลาตอมา
                        ในกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งเปนตราสารที่กอตั้งองคการสหประชาชาติไดแสดงใหเห็นเจตจํานง
               ของการกอตั้งองคการสหประชาชาติไววา

                        “เราประชาชนแหงสหประชาชาติมีความมุงมั่นที่จะปกปองลูกหลานเราจากหายนะแหงสงคราม

               ซึ่งนําความวิปโยคอยางสุดพรรณนาสูมวลมนุษยชาติในชั่วชีวิตเราถึงสองครั้ง และยืนยันความเชื่อมั่นใน
               สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในศักดิ์ศรีและคุณคาแหงมนุษยในสิทธิอันเทาเทียมกันระหวางประชาชาตินอยใหญ
               และสถาปนาสภาวการณอันจะธํารงไวซึ่งความยุติธรรมและความเคารพในพันธกรณีอันเกิดจากสนธิสัญญาและ

               กฎหมายระหวางประเทศ และสงเสริมความกาวหนาทางสังคมและมาตรฐานชีวิตที่ดีขึ้นในเสรีภาพที่กวางขึ้น” 11

                        แมตราสารกอตั้งองคการสหประชาชาติจะกําหนดใหมีการคุมครองสิทธิมนุษยชนไวก็ตาม แตเปนการ
               กําหนดหนาที่ของประเทศสมาชิกเทานั้น มิไดรับรองวาบุคคลเปนผูทรงสิทธิมนุษยชนโดยตรงในทางระหวาง
               ประเทศแตอยางใด แตเจตจํานงรวมกันของประเทศตาง ๆ เพื่อรับรองและคุมครอง

                        สิทธิมนุษยชนในระดับระหวางประเทศและกําหนดรับรองวาบุคคลเปนผูทรงสิทธิตาง ๆ อยางแทจริง

               ในทางระหวางประเทศไดแสดงออกเปนครั้งแรกในปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (The Universal
               Declaration of Human Rights 1948)



               1.3 ขอบเขตและคํานิยามของ “สิทธิในความเปนสวนตัว (right to privacy)

                        สิทธิในความเปนสวนตัว หรือสิทธิสวนบุคคล (right to privacy) ที่ประชุม ICJ (International
               Commission of Jurists) ไดใหความหมายไวในการประชุมเมื่อป 1967 ที่กรุงสต็อกโฮลม ประเทศสวีเดน
               วาเปน “สิทธิที่จะอยูโดยลําพังโดยมีการรบกวนการแทรกแซงในระดับที่นอยที่สุด” ซึ่งมีการขยายความวา

               หมายถึงสิทธิของปจเจกชนที่จะดําเนินชีวิตโดยไดรับการคุมครองจากสิ่งเหลานี้ คือ 12








               11  เสรี  นนทสูติ, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวดองคกรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ เรื่อง 3
                 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ. กรุงเทพฯ : องคการคาของคุรุสภา, 2545, หนา 8
               12  วีรพงษ  บึงไกร. (2543) การเปดเผยขอมูลสวนบุคคลตามพระราชบัญญัติขอมูลขาวสารของราชการ พ.ศ. 2540 หนา 14
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31