Page 39 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 39
ภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับ โดยรอแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้อง
กับอนุสัญญาก่อน
๒.๒) อย่างไรก็ตาม โดยที่ประเทศไทยเป็น
หนึ่งในประเทศสมาชิกที่ก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
แต่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาหลัก จำานวน ๓ ฉบับ จาก ๘ ฉบับ
ซึ่ง ๒ ใน ๓ อนุสัญญาหลักที่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี คือ อนุสัญญา ILO
ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ องค์การด้านแรงงานจึงเห็นว่า ประเทศไทย
ควรเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับก่อน โดยไม่จำาต้องมีข้อสงวน
หรือถ้อยแถลง อันจะเป็นการรับรองเสรีภาพในการสมาคมและ
คุ้มครองสิทธิในการรวมตัว การร่วมกันเจรจาต่อรองของคนทำางาน
โดยไม่ต้องรอแก้กฎหมายภายใน เนื่องจากเมื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
ทั้งสองฉบับแล้ว จะมีเวลาอีก ๑ ปี ในการแก้กฎหมาย
๒.๓) ส่วนข้อกังวลอันเนื่องจากการเข้าเป็น
ภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ว่าจะเปิดโอกาส
ให้มีการสมาคมรวมตัวและร่วมกันเจรจาต่อรองของกลุ่มต่างๆ นั้น
มีความเห็น ดังนี้
๒.๓.๑) การเปิดโอกาสให้ ทหาร ตำารวจ
สามารถใช้สิทธิในการรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรองตามอนุสัญญา ILO
ฉบับที่ ๙๘ นั้น เห็นว่า กรณีข้าราชการ ข้อ ๖ กำาหนดว่า อนุสัญญานี้
ไม่ใช้บังคับกับข้าราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารของรัฐ และกรณี
ทหารและตำารวจ ข้อ ๕ ข้อย่อย ๑ ระบุว่า การใช้บังคับกับกองกำาลัง
ทหารและตำารวจต้องกำาหนดไว้ในกฎหมาย ทำาให้ข้าราชการ ทหาร
และตำารวจบางกลุ่มไม่อาจรวมตัวหยุดงานได้
๒.๓.๒) การเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติ
เข้าเมืองโดยไม่ถูกกฎหมายมีสิทธิในการรวมตัว เห็นว่า การเข้าเป็น
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 37
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว