Page 50 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 50
48 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
(๓) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินเจ็ดปี”
มาตรานี้เป็นเรื่องปราบปรามการโฆษณาต่อประชาชนบางประการ เพราะเอาผิด
ต่อเมื่อกระทำาให้ปรากฏแก่ประชาชนเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ว่ากระทำาโดยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใด เช่น
ฉายภาพยนตร์
มาตรา ๒๑๕ “ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำาลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ ว่าจะใช้
กำาลังประทุษร้าย หรือกระทำาการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ต้องระวาง
โทษจำาคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ
ถ้าผู้กระทำาผิดคนใดมีอาวุธ บรรดาผู้ที่กระทำาความผิดต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกิน
สองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ
ถ้าผู้กระทำาความผิดเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำาความผิดนั้น
ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ”
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๖ และมาตรา ๒๑๕ บัญญัติความผิดให้กับ
เหตุการณ์ที่อาจมุ่งหมายให้เกิดอันตรายแก่ความมั่นคงหรือเกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ซึ่งอาจมี
การชุมนุมร่วมอยู่ด้วย ในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๓ บัญญัติรับรอง
เสรีภาพในการชุมนุมของบุคคล เฉพาะการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเท่านั้น ดังนั้น
เส้นแบ่งระหว่างการชุมนุมที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองและไม่ผิดกฎหมาย กับการ
ชุมนุมที่ไม่ได้รับการรับรองและมีความผิดตามกฎหมายอาญา จึงอยู่ตรงที่องค์ประกอบทั้งสามประการ
ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๑๕ นั่นคือ ๑) มั่วสุมกันตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป ๒) ใช้
กำาลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำาลังประทุษร้าย หรือกระทำาการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวาย
ขึ้นในบ้านเมือง และ ๓) เจตนาให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง
ประการสำาคัญ คือ การใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบนั้น ถ้าการใช้เสรีภาพ
ดังกล่าว ส่งผลให้คนอื่นได้รับความเสียหายก็ต้องรับผิดในส่วนความเสียหายนั้นๆ เช่น ในการ
เดินขบวนเมื่อชุมนุมเรียกร้องเรื่องต่างๆ แต่ถ้าในการชุมนุมหรือเดินขบวนนั้นไปทำาให้ทรัพย์สินของ
บุคคลอื่นเสียหาย อาจเป็นพวกกระถางต้นไม้หน้าบ้าน หน้าตึก หรือยานพาหนะเสียหาย บุคคลที่
ทำาให้เกิดความเสียหายก็ต้องรับผิดในทางละเมิด ชดใช้ค่าเสียหาย และถ้าหากเป็นทรัพย์สินของ
รัฐหรือของแผ่นดินเสียหาย ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ย่อมถือว่า
เป็นการทำาต่อหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมดูแล เช่น ทุบทำาลายถนนในเขตเทศบาล ก็ถือเป็น
การทำาต่อเทศบาล เป็นต้น แต่ในทางเป็นจริง ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจะไม่ค่อย
ฟ้องร้อง อาจเป็นเพราะเกิดความเสียหายไม่มากนัก หรืออาจเป็นเพราะว่าไม่รู้ตัวผู้กระทำาผิด ไม่รู้
ว่าจะฟ้องร้องใคร เพราะการชุมนุมแต่ละครั้งก็มีผู้คนมากมายเข้าร่วมเกือบทุกครั้ง และถ้าการชุมนุม
นั้นมีการปราศรัยในที่ที่ชุมนุมและเข้าหลักเกณฑ์ความผิดของการหมิ่นประมาทตามหลักกฎหมาย
แพ่งหรืออาญา ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการปราศรัยหรือการใส่ความก็ฟ้องร้องให้ผู้นั้นรับผิดจาก
การกระทำานั้นได้ ซึ่งในที่ผ่านมาก็เกิดคดีความฟ้องร้องกรณีนี้อยู่บ่อยครั้ง