Page 54 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 54
52 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
บทกำ�หนดโทษ
ผู้นำาการชุมนุมสาธารณะในพื้นที่เปิดโล่งหรือการเดินขบวนที่ไม่ปฏิบัติตามข้อจำากัด
เกี่ยวกับการชุมนุมและการเดินขบวนต้องได้รับโทษทางอาญา
ผู้เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะในพื้นที่เปิดโล่งหรือการเดินขบวนที่ไม่ปฏิบัติตาม
ข้อจำากัดเกี่ยวกับการชุมนุมและการเดินขบวน ถือว่าเป็นการกระทำาที่ไม่ชอบด้วยกฎหรือระเบียบ
ต้องโทษปรับทางปกครอง
(๓) ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี : รัฐบัญญัติว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะและ
๓๑
การเดินขบวน ค.ศ. ๒๐๐๗ (The Assembly and Demonstration Act, 2007)
เจตน�รมณ์
เพื่อรองรับเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพื่อคุ้มครองประชาชนที่เป็นบุคคล
ที่สาม และเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมและเดินขบวน
ขอบเขตก�รบังคับใช้
การชุมนุมสาธารณะและเดินขบวนซึ่งมีวัตถุประสงค์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ไม่อยู่ในบังคับของรัฐบัญญัติฯ ได้แก่ กรณีการชุมนุมในที่สาธารณะและเดินขบวนที่เกี่ยวกับกิจกรรม
ในวันสำาคัญของชาติ การศึกษา การแสดงศิลปะ การละเล่น การแสดงรื่นเริง กิจกรรมกีฬา การแต่งงาน
พิธีกรรมการศาสนา พิธีศพและการรำาลึกตลอดจนกิจกรรมอื่นทำานองเดียวกัน
คำ�นิย�ม
การชุมนุมสาธารณะ หมายความถึง การรวมตัวของกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
เรียกร้องในเรื่องเดียวกัน โดยไม่ได้กำาหนดจำานวนผู้มาชุมนุมไว้ชัดเจน และได้แบ่งประเภทของการ
ชุมนุมสาธารณะออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ การชุมนุมสาธารณะในสถานที่เปิด (Outdoor Assembly)
หมายถึง การชุมนุมในสถานที่ไม่มีหลังคาหรือเพดาน ปราศจากผนังกั้น และการชุมนุมสาธารณะใน
พื้นที่ปิด (Indoor Assembly) หมายถึง การชุมนุมในสถานที่มีหลังคาหรือเพดาน มีผนังหรือกำาแพงกั้น
ก�รชุมนุมส�ธ�รณะและเดินขบวนที่ต้องห้�มต�มรัฐบัญญัติฯ
๑) การชุมนุมสาธารณะหรือการเดินขบวน ซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุ
ความมุ่งหมายของพรรคการเมืองซึ่งถูกยุบโดยคำาพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ
๒) การชุมนุมสาธารณะหรือการเดินขบวนที่มุ่งก่อให้เกิดความหวาดกลัวหรือ
คุกคามความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของรัฐโดยตรง โดยการปลุกระดมฝูงชนให้ใช้ความรุนแรง
ใช้กำาลังคุกคามทำาลายทรัพย์สิน ลอบวางเพลิง หรือกระทำาการผิดกฎหมายประการอื่น
๓๑ อ้างแล้ว ๖ หน้า ๑๖๑ - ๑๘๑