Page 46 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 46

44   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  เป็นหนังสือจากผู้อำานวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย รวมถึง ห้ามให้ผู้ใดกระทำาการปิดกั้น

                  ทางหลวงหรือการกระทำาด้วยประการใดๆ บนทางหลวงในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหาย
                  แก่พาหนะหรือบุคคล

                             (๘)  พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒    ๒๒

                                  มีสาระสำาคัญ คือ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่ หรือเดินเป็น
                  ขบวนใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร

                  และห้ามมิให้ผู้ใดกระทำาด้วยประการใดๆ บนทางเท้าหรือทางใดๆ ซึ่งจัดไว้สำาหรับคนเดินเท้าใน
                  ลักษณะที่เป็นการกีดขวางผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก

                  เจ้าพนักงานจราจรต่อเมื่อมีเหตุอันจำาเป็นและเป็นการชั่วคราว  กฎหมายฉบับนี้ได้กำาหนดให้อำานาจ
                  หน้าที่ของเจ้าพนักงานตำารวจเป็นผู้อนุญาตให้กระทำาการต่างๆ บนทางเท้า โดยข้าราชการในสังกัด

                  สำานักงานตำารวจแห่งชาติเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า ถ้าผู้ชุมนุม
                  ได้กระทำาการในลักษณะที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย  เจ้าพนักงานตำารวจที่มีอำานาจหน้าที่ตามกฎหมาย

                  สามารถที่จะดำาเนินการผู้ฝ่าฝืนได้  แต่ในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานตำารวจไม่สามารถที่จะดำาเนินการ
                  บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายได้ทุกกรณี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การชุมนุมแต่ละครั้งแต่ละประเภท

                             (๙)  พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย

                  ของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ๒๓

                                  มีสาระสำาคัญ คือ บัญญัติการโฆษณาด้วยการปิด ทิ้ง หรือโปรยแผ่นประกาศ
                  หรือใบปลิวในที่สาธารณะ จะกระทำาได้ต่อเมื่อได้รับหนังสืออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือ

                  พนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำาหนดในหนังสืออนุญาต
                  เมื่อวิเคราะห์พระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ

                  บ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ พบว่า ตามมาตรา ๔ นิยามคำาว่า “ถนน” หมายรวมถึง ทางเดินรถ ทางเท้า
                  ขอบทาง ไหล่ทางและทางข้าม การห้ามมิให้บุคคลใดๆ ฝ่าฝืนระเบียบกฎเกณฑ์การใช้พื้นที่ผิวจราจร

                  รวมไปถึง การใช้รถถยนต์หรือพาหนะอื่นๆ ตามถนนในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรด้วย
                  ซึ่งเจ้าพนักงานจราจรสามารถดำาเนินการตามกฎหมายกับผู้ฝ่าฝืนได้ แต่ในทางปฏิบัติหากผู้ชุมนุมมี

                  จำานวนมากก็ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้

                             (๑๐) พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓  ๒๔
                                  มีสาระสำาคัญ คือ บัญญัติว่าการที่ผู้ใดจะใช้เครื่องขยายเสียงที่ใช้งานด้วยไฟฟ้า






                  ๒๒  อ้างแล้ว ๗ หน้า ๘๓ - ๘๔
                  ๒๓  อ้างแล้ว ๗ หน้า ๘๔
                  ๒๔  อ้างแล้ว ๗ หน้า ๘๔ - ๘๕
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51