Page 52 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 52

50  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                                  บทกำ�หนดโทษ

                                  ถ้ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำาหนด หรือมีการยุยงส่งเสริมผู้เข้าร่วม
                  การชุมนุมซึ่งรับทราบเงื่อนไขในการชุมนุมแล้วไม่ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ถือว่าเป็นการกระทำา

                  ความผิด  และเจ้าหน้าที่ตำารวจในเครื่องแบบสามารถจับผู้ต้องสงสัยว่ากำาลังกระทำาความผิดได้
                  โดยไม่ต้องมีหมาย  โดยผู้กระทำาผิดดังกล่าว ได้แก่

                                  ๑)  ผู้จัดการชุมนุมซึ่งรับทราบเงื่อนไขในการชุมนุมแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
                  ดังกล่าว  ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับระดับสี่ของอัตราค่าปรับมาตรฐาน (ไม่เกิน

                  ๒,๕๐๐ ปอนด์) หรือทั้งจำาทั้งปรับ  เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้
                  เนื่องจากเหตุที่ตนไม่ต้องรับผิดชอบ

                                  ๒)  ผู้เข้าร่วมการชุมนุมซึ่งทราบเงื่อนไขการชุมนุมแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
                  ดังกล่าว  ต้องระวางโทษปรับระดับสามของอัตราค่าปรับมาตรฐาน (ไม่เกิน ๑,๐๐๐ ปอนด์) เว้นแต่จะ

                  พิสูจน์ได้ว่า ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้เนื่องจากเหตุที่ตนไม่ต้องรับผิดชอบ
                                  ๓)  ผู้ใดยุยงส่งเสริมผู้เข้าร่วมการชุมนุมซึ่งรับทราบเงื่อนไขในการชุมนุมแล้วมิได้

                  ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ต้องระวางโทษจำาคุก


                             (๒)  ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี : Gesetz uber Versammlungen und Aufzuge
                                             ๓๐
                  Versammlungsgesetz (VersG)

                                  หลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะและการเดินขบวนที่สำาคัญ
                  ประการหนึ่ง ได้แก่ หลักความพอสมควรแก่เหตุ (proportionality) โดยมีขอบเขตในการพิจารณา

                  มาตรการของรัฐที่ก้าวล่วงเข้าไปในสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง ดังนี้
                                  (ก)  มาตรการของรัฐที่ใช้ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายในทางมหาชน ซึ่งจะ

                  ต้องเป็นมาตรการที่กฎหมายกำาหนดเท่านั้น
                                  (ข)  มาตรการที่ใช้จะถือว่าเหมาะสม เมื่อการดำาเนินการตามมาตรการดังกล่าว

                  สามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้
                                  (ค)  มาตรการที่เหมาะสมต้องเป็นมาตรการที่จำาเป็น โดยต้องไม่ปรากฏว่ามี

                  มาตรการอื่นที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง หรือประโยชน์ส่วนรวม
                  น้อยกว่ามาตรการที่เลือกใช้ดังกล่าว จึงจะถือว่าเป็นมาตรการที่จำาเป็น

                                  (ง)  มาตรการของรัฐที่จำาเป็นนี้ต้องได้สัดส่วน ซึ่งจะมีการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย
                  ระหว่างการใช้มาตรการของรัฐและประโยชน์ที่อาจได้รับจากการใช้มาตรการดังกล่าว








                  ๓๐  อ้างแล้ว ๖ หน้า ๘๑ - ๑๔๕
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57