Page 47 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 47

45
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                     ต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน เพื่อควบคุมมิให้มีการใช้เครื่องขยายเสียงส่งเสียงดัง

                     รบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น  และแม้ว่าตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะมุ่งหมายถึงการโฆษณา
                     ประชาสัมพันธ์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่โดยที่การประท้วงนั้นก็อาจมีความจำาเป็นต้องใช้เครื่องขยายเสียง

                     เพื่อกระจายเสียงให้มีผู้คนทั่วไปได้ยินได้ฟังด้วย  ดังนั้น หากต้องการให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่าง
                     แท้จริงแล้ว ผู้จัดการชุมนุมต้องขออนุญาตก่อนใช้เครื่องขยายเสียงด้วย

                                     กฎหมายฉบับนี้ได้บัญญัติไว้ว่า  การที่บุคคลใดๆ จะต้องใช้เครื่องขยายเสียงใน
                     ที่สาธารณะจะต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเสียก่อน  เมื่อได้รับอนุญาตจึงจะทำาการใช้เครื่อง

                     ขยายเสียงได้โดยมีใบอนุญาตกำาหนดเวลา สถานที่ที่จะใช้เครื่องเสียง และถ้าหากเจ้าหน้าที่เห็นว่า
                     การใช้เครื่องขยายเสียงก่อให้เกิดความรำาคาญรบกวนแก่ประชาชนทั่วไป ก็อาจสั่งให้ลดเสียงลงได้

                     ดังนั้น ถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนไม่ขออนุญาตจากเจ้าพนักงานตำารวจ และเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้แก่ ผู้ว่า
                     ราชการจังหวัดในพื้นที่นั้นๆ ก็อาจจะถูกดำาเนินการตามกฎหมายได้  ซึ่งในทางปฏิบัติการชุมนุม

                     ในแต่ละครั้งไม่ได้มีการขออนุญาตใช้เครื่องขยายเสียงก่อน  และเคยมีการจับกุมผู้นำาการชุมนุมที่ใช้
                     เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตมาแล้วหลายครั้ง รวมถึง การยึดเครื่องเสียงก็เคยทำา แต่ในทาง

                     ปฏิบัติ เจ้าพนักงานตำารวจก็มิได้เคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมายแก่ผู้กระทำาการฝ่าฝืนมากนัก

                                (๑๑) พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.   ๒๕๔๘   ๒๕
                                     มีสาระสำาคัญ คือ บัญญัติให้อำานาจแก่ฝ่ายบริหารที่จะดำาเนินการเมื่อมีสถานการณ์

                     ฉุกเฉินเกิดขึ้น  โดยสั่งการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำารวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือเจ้าหน้าที่
                     ฝ่ายทหารร่วมกัน ช่วยเหลือ ป้องกัน แก้ไข ปราบปราม หรือระงับยับยั้งสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว

                     นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการ เว้นแต่ในกรณีที่ไม่อาจขอความ
                     เห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีได้ทันท่วงที  นายกรัฐมนตรีอาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปก่อนแล้ว

                     ดำาเนินการให้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายใน ๓ วัน  การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
                     อาจประกาศเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตบางท้องที่  บังคับตามระยะเวลาที่นายก

                     รัฐมนตรีเป็นผู้กำาหนด แต่ต้องไม่เกิน ๓ เดือน นับแต่วันประกาศ  ในกรณีที่มีความจำาเป็นต้องขยาย
                     ระยะเวลา ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำานาจประกาศขยายระยะเวลา

                     การใช้บังคับออกไปอีกเป็นคราวๆ คราวละไม่เกิน ๓ เดือน
                                     ในกรณีที่มีความจำาเป็นให้นายกรัฐมนตรีมีอำานาจออกข้อกำาหนด เช่น ห้ามมิให้

                     บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำาหนด  ห้ามมิให้มีการมั่วสุมชุมนุมกัน ณ ที่ใด
                     ห้ามการเสนอข่าว ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม ห้ามการใช้อาคารสถานที่ และนายกรัฐมนตรีอาจ

                     มอบอำานาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบเป็นผู้ใช้อำานาจ






                     ๒๕  อ้างแล้ว ๗ หน้า ๘๕-๘๗
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52