Page 42 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 42
40 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๓. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมสาธารณะ
๓.๑ กฎหมายของประเทศไทย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และพันธกรณีระหว่าง
ประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี
(๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล
ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิเสรีภาพ
ของคนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน”
มาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง “การจำากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรอง
ไว้ จะกระทำามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้
กำาหนดไว้และเท่าที่จำาเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำาคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้”
มาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย”
วรรคสาม “การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทำามิได้ เว้นแต่มีคำาสั่งหรือมีหมาย
ของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ”
วรรคสี่ “การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำาใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตาม
วรรคหนึ่งจะกระทำามิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ”
มาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง “สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง
ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำากัดสิทธิเช่นว่านี้ ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”
มาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด
การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น”
วรรคสอง “การจำากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำามิได้ เว้นแต่โดยอาศัย
อำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือ
สุขภาพของประชาชน
มาตรา ๖๓ วรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจาก
อาวุธ”
วรรคสอง “การจำากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำามิได้ เว้นแต่โดยอาศัย
อำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวก
ของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ใน
ภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก”