Page 41 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 41
39
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๒.๕ แถลงการณ์และบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง
การชุมนุมสาธารณะ
(๑) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ออกแถลงการณ์ต่อสาธารณชน แสดง
ความเห็น ข้อเสนอแนะ และความห่วงกังวลต่อสถานการณ์การชุมนุมสาธารณะที่ผ่านมาหลายวาระ
อาทิ มีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องหรือแสดงความเห็นทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ได้ออกแถลงการณ์ขอให้ทุกฝ่ายเคารพสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การดำาเนินการควรเป็นไปอย่างสันติวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในฝ่ายรัฐบาลควรดำาเนินการโดยพยายาม
หลีกเลี่ยงที่จะนำาไปสู่ความรุนแรงหรือการสลายการชุมนุม กรณีเกิดความรุนแรงขึ้นแล้ว ขอให้รัฐบาล
แสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำาและผลแห่งการกระทำาที่เกิดขึ้น รวมถึงการให้ข้อคิดเห็นต่อกรณี
ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ประกาศใช้บังคับพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ท่ามกลางสถานการณ์การชุมนุม ให้กระทำาด้วยความระมัดระวัง โดยสุจริต ไม่เลือก
ปฏิบัติ ไม่กระทำาใดๆ เกินสมควรแก่เหตุและเกินกว่ากรณีแห่งความจำาเป็น และหากการกระทำาของ
รัฐบาลก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน สามารถร้องขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
พิจารณาฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมแทนได้
นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังได้มีคำาแถลงและท่าทีต่อกรณี
การชุมนุมเพื่อคัดค้านการดำาเนินโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ และการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐเข้า
ช่วยเหลือในเรื่องเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องของประชาชน อาทิ เหตุการณ์ความรุนแรงอันเนื่อง
มาจากการชุมนุมคัดค้านโครงการท่อก๊าซ ไทย-มาเลเซีย โดยขอให้รัฐบาลทบทวนนโยบาย กฎหมาย
และมาตรการต่างๆ ก่อนดำาเนินการใดๆ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อพิจารณา
ประกอบการตัดสินใจด้วย
(๒) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ สม ๐๐๐๑/๙๘ ลงวันที่ ๒๘
ตุลาคม ๒๕๕๓ เรื่อง กรณีร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งได้ชี้แจงต่อกลุ่มรักท้องถิ่น
บ่อนอก และคณะ กรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดเวทีรับฟัง
ความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ สรุปได้ว่า การดำาเนินการของคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้กระทำาไปด้วยเจตนาที่จะให้รัฐบาลและรัฐสภาได้รับทราบข้อคิดเห็นจาก
ประชาชนและคำานึงถึงผลกระทบต่อการจำากัดสิทธิและเสรีภาพ และผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
โดยสะท้อนมุมมองจากการประมวลความเห็นของประชาชนที่ห่วงใยในเรื่องนี้เป็นสำาคัญ และให้
รัฐบาลและรัฐสภาหันกลับมาพิจารณาถึงข้อทักท้วง ข้อห่วงใย ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะที่มีเจตนา
ไม่ให้ปิดกั้นการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ โดยเป็น
บทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมอย่างแท้จริง