Page 165 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 165
163
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
(๑) ผู้มีอำ�น�จในก�รจัดก�รสถ�นก�รณ์
(๑.๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ (The Minister of State) มีอำานาจ
กำาหนดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยต้องทำาเป็นคำาสั่งว่าสถานการณ์ใด
ถือเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินตามความหมายของกฎหมายนี้ ซึ่งคำาสั่งดังกล่าวจะมีผลต่อเมื่อได้รับ
อนุมัติจากรัฐสภา (House of Parliament) แล้วเท่านั้น
(๑.๒) พระราชินียังคงเป็นผู้มีอำานาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ภายในประเทศและมีอำานาจในการออกประกาศเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Regulation)
โดยทำาคำาสั่งในคณะมนตรี (Council) โดยคำาแนะนำาของเลขาธิการประจำากระทรวงมหาดไทย (The
Home Department) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงกับเรื่องความมั่นคงภายในและการแก้ไขสถานการณ์
แต่ทั้งนี้ อำานาจดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขสามประการ ดังนี้
(๑.๒.๑) เหตุการณ์ฉุกเฉินได้เกิดขึ้นแล้ว (Has occurred) กำาลัง
เกิดขึ้น (Is Occurring) หรือใกล้ที่จะเกิดขึ้น (Is About tooccur)
(๑.๒.๒) เป็นเงื่อนไขแห่งความจำาเป็นต้องออกบทบัญญัติเพื่อป้องกัน
ควบคุม หรือบรรเทาผลของสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น
(๑.๒.๓) ความจำาเป็นนั้นต้องออกบทบัญญัติที่จำาเป็นอย่างเร่งด่วนด้วย
(๑.๓) รัฐมนตรีอาวุโส (Senior Minister of Crown) หมายถึง บุคคล
ดังต่อไปนี้ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) เลขาธิการประจำากระทรวงต่างๆ (Her Majesty’s
Principal Secretary of State) และคณะกรรมาธิการกระทรวงการคลัง (Commissioner’s of Her
Majesty’s Treasury) มีอำานาจออกประกาศเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข
สามประการข้างต้น และต้องพิสูจน์ด้วยว่าไม่มีทางเป็นไปได้ โดยการจัดการตามคำาสั่งของสภา
เพราะจะเป็นการล่าช้าอย่างมาก หรืออาจไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในอำานาจของกระทรวงมหาดไทย
(๑.๔) Tribunal นั้นอาจถูกสร้างขึ้น โดยประกาศที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
๑๒๗
หลังจากที่รัฐมนตรีได้ปรึกษากับ Council on Tribunal
(๒) เงื่อนไขและวิธีก�รใช้อำ�น�จในสถ�นก�รณ์ฉุกเฉิน ๑๒๘
การใช้อำานาจในสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Power) ในระบบกฎหมาย
ของประเทศอังกฤษ การใช้อำานาจในสถานการณ์ฉุกเฉิน ได้บัญญัติให้ฝ่ายบริหารสามารถออก
๑๒๗ เนรัญชรา กอระมณี, กฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายในราชอาณาจักร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายมาเลเซีย
สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษ (นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒), ๖๐ - ๖๑.
๑๒๘ ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล, การควบคุมฝ่ายปกครองในสถานการณ์ฉุกเฉิน (นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, ๒๕๔๙), ๔๕ - ๔๘.