Page 164 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 164

162   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  หมวดนี้ให้อยู่ในอำานาจของศาลยุติธรรม  ทั้งนี้ ในกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาเพื่อใช้มาตรการหรือ

                  วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธี
                  พิจารณาความอาญา แล้วแต่กรณี  ให้ศาลเรียกเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งออกข้อกำาหนด

                  ประกาศหรือคำาสั่ง หรือกระทำาการนั้น มาเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง รายงาน หรือแสดงเหตุผลเพื่อประกอบ
                  การพิจารณาสั่งใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวดังกล่าวด้วย


                        ๔.๓  การศึกษากฎหมายต่างประเทศ


                             ๔.๓.๑  กฎหมายของประเทศอังกฤษ
                             กฎหมายความมั่นคงในประเทศอังกฤษมีกฎหมายที่สำาคัญอยู่ ๒ ฉบับ คือ


                             ๑)  กฎอัยการศึก  ซึ่งมิได้มีการตราเป็นกฎหมายแต่เป็นการใช้อำานาจตามสถานการณ์
                  โดยอาศัยหลักของการใช้กำาลังพอสมควรแก่เหตุ  ทั้งนี้ ความหมายของกฎอัยการศึกตามความหมาย

                  ของประเทศอังกฤษ หมายถึง การปกครองประเทศชั่วคราวหรือส่วนหนึ่งของประเทศ โดยเจ้าหน้าที่
                  ฝ่ายทหารเข้ามาแทนที่กฎหมายธรรมดา เพื่อให้เป็นไปตามพระราชโองการหรือประกาศของเจ้าหน้าที่

                  ฝ่ายทหาร  และเมื่อได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้วทุกครั้ง จะต้องออกกฎหมายเพื่อปลดเปลื้อง
                  ความรับผิดจากการกระทำาระหว่างการประกาศใช้กฎอัยการศึก เพื่อมิให้ถูกฟ้องร้องตามกฎหมาย

                  ซึ่งเรียกว่า Indemnity Act  ตัวอย่างเช่น Indemnity Act 1920 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองความ
                  ถูกต้องในการใช้กฎอัยการศึก และปลดเปลื้องความรับผิดทั้งหลายอันเนื่องมาจากการใช้อำานาจ
                                                          ๑๒๖
                  ตามกฎอัยการศึกในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ ๑

                             ๒)  พระราชบัญญัติเหตุภัยพิบัติพลเรือน ค.ศ. ๒๐๐๔ (Civil Contingencies Act
                                 2004)

                                 พระราชบัญญัติดังกล่าว สมเด็จพระราชินี (Her Majesty) ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย
                  มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๔ ได้วางมาตรการ (Measures) ทางกฎหมายไว้เพื่อ

                  ป้องกันภัยพิบัติให้กับพลเรือนภายในราชอาณาจักรจากวิกฤติการณ์น้ำามันเชื้อเพลิง และอุกทกภัย
                  ร้ายแรงในปี ค.ศ. ๒๐๐๐ และสถานการณ์ระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์ในปี ค.ศ. ๒๐๐๑

                  รองนายกรัฐมนตรีได้ประกาศรายงานการจัดเตรียมแผนการสำาหรับรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่ใช่
                  กฎอัยการศึก  กฎหมายนี้ได้กำาหนดให้มีการออกกฎเกณฑ์พิเศษขึ้นใช้บังคับชั่วคราว ซึ่งมีจุดประสงค์

                  เพื่อจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง และได้กำาหนดให้มีกระบวนการใหม่ขึ้นหลายประการ
                  เพื่อมิให้มีการใช้อำานาจในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยมิชอบ โดยมีเงื่อนไขและขั้นตอนการใช้อำานาจ ดังนี้






                  ๑๒๖  ดุสิต ยมจินดา, บทวิเคราะห์ว่าด้วยกฎหมายการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (นิติศาสตรมหาบัณฑิต
                       กฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๓), ๘๗.
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169