Page 160 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 160
158 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจาก
ภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตาม
พระราชกำาหนดนี้
มาตรา ๕ เมื่อปรากฏว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นและนายกรัฐมนตรีเห็นสมควร
ใช้กำาลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำารวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารร่วมกัน
ป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้ง ฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชนให้นายกรัฐมนตรีโดยความ
เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำานาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักร
หรือในบางเขตบางท้องที่ได้ตามความจำาเป็นแห่งสถานการณ์ ในกรณีที่ไม่อาจขอความเห็นชอบ
จากคณะรัฐมนตรีได้ทันท่วงที นายกรัฐมนตรีอาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปก่อนแล้วดำาเนินการ
ให้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในสามวัน หากมิได้ดำาเนินการขอความเห็นชอบจาก
คณะรัฐมนตรีภายในเวลาที่กำาหนด หรือคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ ให้การประกาศสถานการณ์
ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่นายกรัฐมนตรี
กำาหนด แต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันประกาศ ในกรณีที่มีความจำาเป็นต้องขยายระยะเวลา
ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำานาจประกาศขยายระยะเวลาการใช้บังคับ
ออกไปอีกเป็นคราวๆ คราวละไม่เกินสามเดือน
เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว หรือเมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบหรือเมื่อ
สิ้นสุดกำาหนดเวลาตามวรรคสอง ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น
มาตรา ๙ ในกรณีที่มีความจำาเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว
หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ให้นายกรัฐมนตรีมีอำานาจออกข้อกำาหนด ดังต่อไปนี้
(๑) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำาหนด เว้นแต่จะได้รับ
อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น
(๒) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ หรือกระทำาการใดอันเป็นการยุยง
ให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
(๓) ห้ามการเสนอข่าว การจำาหน่าย หรือทำาให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือ
สื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำาให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
ทำาให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งในเขตพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือทั่ว
ราชอาณาจักร
(๔) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำาหนดเงื่อนไขการใช้
เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ