Page 159 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 159

157
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                           ๔.๒  กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง


                                ๔.๒.๑  พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช  ๒๔๕๗

                                มาตรา ๒  เมื่อเวลามีเหตุอันจำาเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมาจาก

                     ภายนอกหรือภายในราชอาณาจักรแล้ว จะได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกทุก
                     มาตราหรือแต่บางมาตรา หรือข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของมาตรา ตลอดจนการกำาหนดเงื่อนไขแห่ง

                     การใช้บทบัญญัตินั้นบังคับในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรหรือตลอดทั่วราชอาณาจักร และถ้าได้
                     ประกาศใช้เมื่อใด หรือ ณ ที่ใดแล้ว บรรดาข้อความในพระราชบัญญัติหรือบทกฎหมายใดๆ ซึ่งขัดกับ

                     ความของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับต้องระงับและใช้บทบัญญัติของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับนั้นแทน
                                มาตรา ๔  เมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใดให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้น ซึ่งมี

                     กำาลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใดๆ ของทหาร
                     มีอำานาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำานาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้ แต่จะต้องรีบรายงาน

                     ให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด
                                มาตรา ๕  การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใดนั้น จะเป็นไปได้ต่อมีประกาศกระแส

                     พระบรมราชโองการเสมอ
                                มาตรา ๙  การตรวจค้นนั้น ให้มีอำานาจที่จะตรวจค้น ดังต่อไปนี้

                                (๑) ที่จะตรวจ ค้น บรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือจะต้องเข้าอาศัย
                     หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งมีอำานาจที่จะตรวจค้นได้ไม่ว่าที่ตัวบุคคลใน

                     ยานพาหนะ เคหสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ใดๆ และไม่ว่าเวลาใดๆ ทั้งสิ้น
                                มาตรา ๑๕ ทวิ  ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดจะเป็น

                     ราชศัตรูหรือได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อคำาสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารให้
                     เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำานาจกักตัวบุคคลนั้นไว้เพื่อการสอบถามหรือตามความจำาเป็นของทางราชการ

                     ทหารได้ แต่ต้องกักไว้ไม่เกินกว่า ๗ วัน

                                ๔.๒.๒  พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘

                                มาตรา ๔  ในพระราชกำาหนดนี้

                                “สถานการณ์ฉุกเฉิน” หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความ
                     สงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำาให้ประเทศหรือส่วนใด

                     ส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือมีการกระทำาความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตาม
                     ประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำาเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้

                     ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่ง
                     ราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย

                     ความปลอดภัยของประชาชน การดำารงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164