Page 158 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 158
156 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
๓. การดำาเนินการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีคำาสั่งที่ ๔๐/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ และ
คำาสั่งที่ ๕๖/๒๕๕๖ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบาย
และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยมีอำานาจ
หน้าที่ในการเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสนอแนะกรอบการศึกษา การวิจัย และ
การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
ราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นด้านสิทธิมนุษยชน
คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อ
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้มีการศึกษาและประชุมเพื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ
กฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดสัมมนา
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยผู้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานราชการและผู้แทน
๑๒๕
องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว รวมทั้ง
ศึกษาเอกสารทางวิชาการ ได้แก่ วิทยานิพนธ์ บทความ กฎหมายความมั่นคงของต่างประเทศ
คำาพิพากษาของศาล และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปีของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๔. ข้อมูลประกอบการพิจารณา
๔.๑ คำาร้องเรียนเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคง
ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๕๖ (๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖) กสม. ได้รับคำาร้องเกี่ยวกับการใช้อำานาจ
หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐโดยอาศัยอำานาจตามกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ จำานวน ๗๑ คำาร้อง
๑๒๕ การสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรื่อง การปรับปรุงกฎหมายด้านความมั่นคงของประเทศไทยให้สอดคล้อง
กับหลักสิทธิมนุษยชน ในวันอังคารที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำานักงานอัยการสูงสุด สำานักงานศาลปกครอง สำานักงาน
ศาลยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมพระธรรมนูญ ศูนย์อำานวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้
ศูนย์ปฏิบัติการตำารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองทัพบก กรมการปกครอง สำานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สำานักงานตำารวจแห่งชาติ สภาทนายความ และสมาคมสตรีจังหวัดชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ เป็นต้น