Page 157 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 157

155
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                         อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย

                     และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความเห็นว่า
                     ควรดำาเนินการศึกษากฎหมายความมั่นคงดังกล่าว เพื่อแก้ไขผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้และ

                     จัดทำาข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี ตาม
                     อำานาจหน้าที่ที่กำาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติ

                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อไป



                     ๒.  อำานาจหน้าที่

                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำานาจหน้าที่เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการ

                     ปรับปรุงกฎหมายและกฎต่อรัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตาม
                     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ วรรคหนึ่ง (๕)  และพระราช-

                     บัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓)











                     ๑๒๔ (ต่อ)
                         ๓)  คำาร้องที่ ๗๐๕/๒๕๕๒  ตามคำาร้องสรุปว่า  เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๒  ผู้เสียหายถูกเจ้าหน้าที่ทหาร
                         เชิญตัวไปสอบถามกรณีปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่โรงเรียนบ้านค่าย จังหวัดปัตตานี หายไปหลายกระบอก
                         ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร โดยใช้กระบวนการซักถามด้วยระยะเวลายาวนานโดยไม่มีการพักทั้งเวลากลางวันและ
                         กลางคืนติดต่อกันกว่า ๑๘ ชั่วโมง ทำาให้มีอาการเครียดอย่างหนัก เจ้าหน้าที่ได้ส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล
                         ค่ายอิงคยุทธบริหาร และโรงพยาบาลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ตามลำาดับ

                         ๔) คำาร้องที่ ๑๕๒/๒๕๕๓  ตามคำาร้องสรุปว่า  เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓  เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าปิดล้อม
                         และตรวจค้นบ้านหลังหนึ่งในตำาบลบาเระใต้ อำาเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส และได้นำาตัวผู้เสียหายไปควบคุม
                         ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร และสอบสวนในห้องเย็นตั้งแต่วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ถึงเวลา
                         ๑๐.๐๐ น. ของวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓  และถูกซ้อมด้วยการตบหน้า ถูกถีบ และต่อยหน้าท้อง นอกจากนี้
                         เจ้าหน้าที่สอบสวนยังได้ใช้ถุงดำาคลุมหัวจนเกือบขาดอากาศหายใจ เพื่อให้รับสารภาพว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ
                         กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
                         ๕) คำาร้องที่ ๒๑๔/๒๕๕๓  ตามคำาร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๓  ผู้เสียหายถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับ
                         และควบคุมตัวไปไว้ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทำาการสอบสวนในห้องที่มีอุณหภูมิเย็น และเจ้าหน้าที่
                         ได้ใช้กระดาษม้วนแล้วฟาดที่ศีรษะ มีรอยฟกช้ำาที่บริเวณข้อมือ และถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ว่าหากไม่รับสารภาพว่า
                         เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบจะถูกทำาร้ายร่างกาย
                         ๖)  คำาร้องที่ ๖๒๒/๒๕๕๓  ตามคำาร้องสรุปว่า  เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ เจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจ
                         ที่ ๓๒ อำาเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส  ได้เข้าจับกุมผู้เสียหายในข้อหาเป็นแนวร่วมผู้ก่อการร้ายในจังหวัด
                         ชายแดนภาคใต้และถูกควบคุมตัวอยู่ที่ค่ายจุฬาภรณ์ อำาเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส  โดยผู้เสียหายแจ้งกับญาติ
                         ว่าถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำาร้ายร่างกายมีอาการบาดเจ็บที่บริเวณเอวด้านหลังและใบหน้าข้างขวามีลักษณะบวมช้ำา
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162