Page 156 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 156
154 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
ในปัจจุบันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้รับความคุ้มครองตามกลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ในกรอบสหประชาชาติซึ่งประกอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม และ
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนซึ่งจัดตั้งขึ้นในภายหลัง โดยรัฐมีหน้าที่ในการดำาเนินการด้านสิทธิมนุษยชน
ในการเคารพ (Duty to Respect) ปกป้องคุ้มครอง (Duty to Protect) และทำาให้สิทธิต่างๆ บรรลุ
ตามพันธะหน้าที่ (Duty to Fulfill) และมีปฏิญญา กติกา อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับที่
ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคล
ถูกบังคับให้สูญหาย อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่สงบหรือการแสดงออกทางการเมือง
ในลักษณะดังกล่าวที่ไม่ใช่เป็นการใช้อาวุธหรือภาวะสงคราม กฎหมายหรือมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาล
จะนำามาใช้เพื่อรักษาความสงบหรือความเป็นระเบียบของสังคมจึงควรคำานึงถึงผลกระทบด้านสิทธิ
มนุษยชนควบคู่กับการรักษาความมั่นคง
คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนจำานวนมากเกี่ยวกับการบังคับใช้
กฎหมายความมั่นคง อันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งข้อเท็จจริงตามคำาร้องดังกล่าว
สรุปได้ว่ามีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ตำารวจกระทำาทรมาน และมีการปฏิบัติหรือ
การลงโทษอื่นที่ไร้มนุษยธรรมต่อผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ในขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ ขั้นตอนการปิดล้อม ตรวจค้น ขั้นตอนการจับกุมตัวและ
การเชิญตัว ขั้นตอนการควบคุมตัว และขั้นตอนการสอบสวนหรือการซักถาม ๑๒๔ เป็นต้น และได้มี
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรียบร้อยแล้ว
๑๒๔ ๑) คำาร้องที่ ๑๐๒/๒๕๕๐ ตามคำาร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ผู้เสียหายถูกนำาตัวไปสอบสวนที่
ค่ายทหารแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา เกี่ยวกับคดีปล้นปืนที่ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส
เมื่อปี ๒๕๔๗ โดยระหว่างถูกควบคุมตัว ถูกเจ้าหน้าที่ทหารข่มขู่เพื่อให้รับสารภาพ และทำาร้ายร่างกายด้วย
การเตะที่ท้อง ชกที่ใบหน้า ใช้เหล็กฉาบสร้างบ้านกระแทกบนศีรษะหลายครั้ง มีการใช้ไฟฟ้าช๊อต และใช้บุหรี่จี้
ตามร่างกาย และนำาสุนัขมาล่ามโซ่ไว้ใกล้ๆ
๒) คำาร้องที่ ๑๔๔/๒๕๕๒ ตามคำาร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๒ เจ้าหน้าที่ทหารและตำารวจ สถานี
ตำารวจภูธรหนองจิก ได้ตรวจค้นบ้านหลังหนึ่งในตำาบลโปโละปุโย อำาเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และจับกุม
ผู้เสียหายกับพวกรวมสามคนไปควบคุมและสอบสวนที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เจ้าหน้าที่สอบสวน
ได้บังคับให้ดื่มน้ำาคล้ายน้ำามัน ทำาให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา
ต่อมาถูกสอบสวนอีกครั้งตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ ถึง ๐๓.๐๐ น. รวมเป็นเวลา ๑๐ ชั่วโมง โดยไม่ได้พัก