Page 119 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 119
117
ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๑ ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
ปรากฏตัวในการพิจารณาคดี ในขั้นตอนอื่นของกระบวนการพิจารณา และจะมาปรากฏตัวเพื่อการ
บังคับตามคำาพิพากษา เมื่อถึงวาระนั้น
๔. ……………………….
๕. บุคคลใดที่ถูกจับกุมหรือถูกควบคุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับ
ค่าสินไหมทดแทน
๓) อนุสัญญ�ว่�ด้วยก�รต่อต้�นก�รทรม�น และก�รประติบัติหรือก�รลงโทษอื่นที่โหดร้�ย
่
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำ�ยีศักดิ์ศรี
ข้อ ๑
๑. เพื่อความมุ่งประสงค์ของอนุสัญญานี้ คำาว่า “การทรมาน” หมายถึง การ
กระทำาใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำาให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกาย
หรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำาสารภาพ
จากบุคคลนั้นหรือจากบุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้น สำาหรับการกระทำา ซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคล
ที่สาม กระทำาหรือถูกสงสัยว่าได้กระทำา หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัว หรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้น
หรือบุคคลที่สาม หรือเพราะเหตุผลใดใดบนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ ไม่ว่าจะเป็นรูปใด เมื่อ
ความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานนั้นกระทำาโดย หรือด้วยการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือ
รู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐ หรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำาแหน่งทางการ ทั้งนี้
ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่เกิดจากหรืออันเป็นผลปกติจาก หรืออันสืบเนื่อง
มาจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย
๒. .................
ข้อ ๒
๑. ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐดำาเนินมาตรการต่างๆ ทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร
ทางตุลาการหรือมาตรการอื่นๆ ที่มีประสิทธิผล เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำาการทรมานใน
อาณาเขตใด ซึ่งอยู่ภายใต้เขตอำานาจของตน
๒. ไม่มีพฤติการณ์พิเศษใด ไม่ว่าจะเป็นภาวะสงคราม หรือสภาพคุกคามที่
จะเกิดสงคราม การขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ หรือสภาวะฉุกเฉินสาธารณะอื่นใด
ที่ยกขึ้นมาเป็นข้ออ้างที่มีเหตุผลสำาหรับการทรมานได้
๓. คำาสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือจากทางการ ไม่สามารถยกขึ้นเป็นข้ออ้างที่มี
เหตุผลสำาหรับการทรมานได้
ข้อ ๔
๑. ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐประกันว่า การกระทำาทรมานทั้งปวงเป็นความผิดตาม
กฎหมายอาญาของตน ให้ใช้หลักการเดียวกันนี้บังคับสำาหรับการพยายามกระทำาการทรมาน และ
สำาหรับการกระทำาโดยบุคคลใดที่เป็นการสมรู้ร่วมคิด หรือการมีส่วนร่วมในการทรมานด้วย